งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับแพลตฟอร์มขจัดความยากจน แบบเบ็ดเสร็จและแม่ยำจังหวัดศรีสะเกษ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ร่วมกับ กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เวทีแก้จนครั้งที่ 3
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26329145_0.jpg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26329155_0.jpg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26329149_0.jpg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26329148_0.jpg)
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2567 ที่ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมศรีลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ร่วมกับ กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ ( บพท.) โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนะดับพื้นที่ ( บพท.) สนับสนุนภาระกิจจังหวัดศรีสะเกษ ให้บรรลุเป้าหมายแผนพัฒนาจังหวัด พ.ศ.2566-2570 ประเด็นการพัฒนาที่ 1 ยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรสู่มาตรฐานอย่างครบวงจร ประเด็นการพัฒนาที่ 2 พัฒนาเมืองน่าอยู่ และ ประเด็นการพัฒนาที่ 3 สู่คุณภาพชีวิตประชาชนในทุกมิติ โดยมี ผศ.ดร.สหัสา พลนิล อจ.มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หัวหน้าชุดโครงการงานวิจัยฯ โดยวันนี้เป็นเวทีสาธารณะเวทีที่ 3 เป็นการเปิดเสวนา งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับแพลตฟอร์มขจัดความยากจน แบบเบ็ดเสร็จและแม่ยำจังหวัดศรีสะเกษ โดยมี นางสาว ชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เดินทางมาเป็นประธานเปิดเวทีเสวนา พร้อมรับฟังการบรรยายสรุป ร่วมกับผู้นำชุมชน ท้องถิ่นใน 22 อำเภอ ผู้นำหมู่บ้านยากจน ครัวเรือนยากจน เข้ารับฟัง กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26329154_0.jpg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26329151_01.jpg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26329150_0.jpg)
ในการบรรยายสรุปเวทีเสวนาในวันนี้ ได้มี ดร.อโศก พลบำรุง รักษาการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ ( บพท.) และผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมหล้ำ มาร่วมบรรยายสรุป ในความก้าวหน้าของงานวิจัย, นวัตกรรมแก้จนคนศรีสะเกษ, มุมมองต่อความยากจน ของกระแสหลัก ความขาดแคลน หรือ ความต้องการ ปัจจัยการดำรงชีพของคนจน การค้นหาจุดอ่อน หรือจุดด้อย เพื่อเติมสิ่งที่ขาด หรือ มีเพียงสนองความต้องการ ศักยภาพหรือฐานทุน ในการพัฒนาตนเองของคนจน ครัวเรือน ชุมชนที่อยู่อาศัย พร้อมกับคำถาที่ว่า คนจนอยู่ที่ไหน, จนเพราะอะไร, จะพ้นความจนได้อย่างไรเบ็ดเสร็จ และยั่งยืนอย่างไร ปัญหาการพัฒนาในอดีต มุ่งสร้างความติบโตทางเศรษฐกิจ มองข้าม หรือ ไม่ให้ความสำคัญกับศักยภาพ หรือทุนที่มีอยู่ภายใน หรือ นโยบาล Top – Down ขณะที่ผลของการพัฒนา ทำให้ทรัพยากรเสื่อมโทรมลง สินทรัพย์ทุนมีสภาพอ่อนแอไม่ได้รับการพัฒนา ชุมชนพึ่งพิงพลังจากภายนอก ที่ไม่สามารถที่เผชิญหน้า หรือปรับตัวต่อความเสี่ยง ความท้าทาย หรือ พลวัตใหม่ๆ
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26329158_0.jpg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26329160_0.jpg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26329161_0.jpg)
ขณะที่ นายธรรมรักษ์ บุญหวาน ผู้นำด้านการพัฒนาจากหมู่บ้านหว้าน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมืองศรีสะเกษ กล่าวว่า การแก้จนในหมู่บ้านเราก็คือ เราดูว่าจะมีนักท่องเที่ยว เข้าไปตามวัดท่องเที่ยว จะกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไร ในชุมชนเรามีฝีมือ ทำสินค้ารอขายให้นักท่องเที่ยวได้ แต่วันนี้ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้าไปในชุมชน เราก็ไม่รู้ว่าจะทำเพื่อไปขายให้ใคร วันนี้เรามีผ้าฝ้าย ผ้าไหม พริก หอม กระเทียม ซึ่งก็ไม่รู้จะขายให้ใคร เมื่อก่อนมีคนมาเที่ยวตามชุมชนเยอะ พอเศรษฐกิจหลังช่วงโควิด – 19 ระบาด ชุมชนหมู่บ้านก็ซบเซา ชาวบ้านก็ไม่มีรายได้เพิ่มกันเลย ตอนนี้ชาวบ้านก็อยากขายสินค้าอยู่ในชุมชน อยากให้มีนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวตามชุมชน ไปซื้อของสินค้าชุมชน ไปเที่ยวชุมชน เหมือนเมื่อก่อน เพราะหากชาวบ้านท้องแห้ง หิวอยู่ ก็จะไม่สามารถแก้จนได้
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26329159_0.jpg)
/////////////////////////
ภาพ/ข่าว นายพงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์ / ศรีสะเกษ