สืบรากวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล กู่แก้วสี่ทิศ สู่กำไรรวงข้าว

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ร่วมกับ หน่วยบริหารจัดการทุน และจังหวัดศรีสะเกษ ตรวจติดตามการจัดทำโครงการ “ยกระดับคุณค่าและมูลค่าวัฒนธรรมข้าวลุ่มน้ำมูล พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” เชื่อมโยง 4 จังหวัดอีสานล่าง

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2567 เขื่อนราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นจุดอันสำคัญในการเริ่มต้นของการเล่าเรื่องวัฒนธรรมลุ่มน้ำมูล ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของเศรษฐกิจที่สำคัญของชาวอำเภอราษีไศล ที่เกี่ยวเนื่อง เชื่อมโยงกัน วิถีชีวิตของคนในเขต “ทุ่งกุลาร้องไห้” ที่อยู่ในเขต 4 จังหวัด คือ ศรีสะเกษ, สุรินทร์, ร้อยเอ็ด และยโสธร จากประวัติของการล่องเรือมาของกลุ่มชน ที่นำโดย พระยากตะศิลา ก่อนมาสร้างหมู่บ้าน ตำบล และยกระดับเป็นอำเภอราษีไศล กับวิถีชีวิตของคนพายเรือหาปลา มาสู่การจัดการแข่งขันเรือหาปลา แข่งขันเรือยาว 50 ฝีพาย ที่เป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดอีกแห่งของไทย การเป่าสะไน ถือเป็นการสืบตำนานบรรพบุรุษของคนชาวเรือลุ่มน้ำมูล กับเจ้าพ่อดงภูดิน ที่ถือเป็นพ่อปู่ของชาวราษีไศล มาสู่ยุคปัจจุบัน ที่คนรุ่นใหม่ ต้องการพัฒนา ยกระดับของวิถีชีวิตให้อยู่รอด จากวัฒนธรรมของอดีต สู่การพัฒนายกระดับในปัจจุบันมรดกทางวัฒนธรรม ที่คนรุ่นเก่าสืบต่อไว้ให้ คือ ข้าว – ป่า – ปลา – เกลือ  – เรือ – เหล็ก คือมรดกทางทรัพยากรอันสำคัญของคนราษีไศล ที่จะต้องนำไปสู่กันเชิญชวนนักท่องเที่ยว เข้ามาเที่ยว เข้ามาจับจ่าย ท่องเที่ยว “กู่แก้วสิบทิศ” อายุมากกว่าพันปี ที่เชื่อว่า เป็นเมืองโบราณที่ยังรอการขุดค้น อาณาเขต ที่มีฝูงลิง ล้อมรอบรักษาไว้ กับดงลิงบ้านหว้าน แห่งนี้ กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ สู่ กำไลรวงข้าว สินค้าอัตลักษณ์ของชุมชน

ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ประธานอนุกรรมการ ที่ปรึกษาการขับเคลื่อนวิทยสถาน “ธัชภูมิ” หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.), ดร.ธนภณ วัฒนกุล ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญฯ และ นางรสริน คุณชม นักวิเคราะห์ (ฝ่ายธัชภูมิ) เดินทางลงพื้นที่ สำรวจแหล่งเรียนรู้ ทางรอยวัฒนธรรมตาม โครงการ “ยกระดับคุณค่าและมูลค่าวัฒนธรรมข้าวลุ่มน้ำมูล พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” โดยมี นายสุริยา บุตรจินดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ มาเป็นประธานเปิดตลาดแลงแยงมูล, รศ.ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, ดร.ประจวบ จันทร์หมื่น หัวหน้าฝ่ายงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และคณะอาจารย์ ร่วมกับ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล พี่น้องประชาชน คนทามมูล กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวัฒนธรรมข้าวลุ่มนำมูล ทุ่งกุลาร้องไห้ มาร่วมให้การต้อนรับ นำชมวิถีชาวบ้าน แห่งเรียนรู้ ดงภูดิน, กู่แก้วสิบทิศ ที่เชื่อว่าเป็นเมืองโบราณอายุมากกว่าพันปี ที่รอการขุดค้น นำชมตลาดแลงแยงมูล “ ตลาด แปลว่า ตลาด, แลง คือตอนค่ำ, แยง แปลว่า ดู เป็นภาษาอีสาน ) ที่ชาวบ้านนำสินค้า อาหาร โดยพาะปลา มาจำหน่ายช่วงเย็น   

ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ประธานอนุกรรมการ ที่ปรึกษาการขับเคลื่อนวิทยสถาน “ธัชภูมิ” หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่า ที่ บพท.ทำนี่คือการพัฒนา ให้ทุนวิจัย เพื่อผลักดันให้งานวิจัยไปสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ ซึ่งสิ่งที่เราเห็นว่าสำคัญมาก ก็คือเรื่องทุนวัฒนธรรม ที่ประชาชน ชุมชน ชาวบ้าน มีกันอยู่แล้ว โดยที่จังหวัดศรีสะเกษ พิเศษอันหนึ่งก็คือ ได้มีการรวมกันกับอีก 3 จังหวัด ในบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏฯ ที่ทำงานพัฒนาชุมชน วิจัยวิถีชาวบ้าน อยู่ในพื้นที่ที่เราเรียกว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้”  ก็คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กับความสำคัญของ คำ 6 คำ คือ ข้าว – ป่า – ปลา – เกลือ – เรือ – เหล็ก ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ ที่เคยยิ่งใหญ่ ต่อประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของบ้านเมือง ที่มีอัตลักษณ์ ต่อนักท่องเที่ยว ที่จะมาเที่ยว มาสืบรากวัฒนธรรม มาท่องเที่ยวในภูมิประเทศที่ได้เคยถูกขนานนามว่า “ดินแดนสุวรรณภูมิ” ได้มารู้ถึงความสำคัญของทุ่งกุลาร้องไห้ และงานวิจัยนี้ ก็จะช่วยการโปรโมท ในเรื่องการท่องเที่ยว เพื่อการจับจ่ายใช้สอย พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนารายได้ ให้เศรษฐกิจในพื้นที่ดีขึ้น

ซึ่ง รศ.ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ของเราได้มุ่งเป้าการพัฒนาชุมชนวิถีชุมชน มาที่อำเภอราษีไศล ซึ่งเป็นอำเภอที่มีวัฒนธรรม มีประเพณี มีแหล่งโบราณสถาณ อันสำคัญต่างๆ ของพื้นที่ ซึ่งเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมของพี่น้องชาวทุ่งกุลาร้องไห้ ที่รอการพัฒนาขุดค้น และสืบตำนานมหาวิทยาลัยราชภัฏ ก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้นำงานวิจัยมาลงในพื้นที่เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจรายได้ให้กับชุมชนสืบไป

//////////////////////// นายพงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์ / ศรีสะเกษ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

error: Content is protected !!