สสจ.ศรีสะเกษ อบรมดูแลผู้ป่วยจิตเวช พร้อมการสาธิตสมจริง

จากเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่ รพ.ในจังหวัดศรีสะเกษ ได้พยายามเข้าควบคุมผู้ป่วย ที่คลุ้มคลั่ง จนเป็นเหตุให้ได้รับอันตราย จนส่งผลให้เสียชีวิตในวันต่อมา สสจ.จึงเร่งอบรมเจ้าหน้าที่ พร้อมการสาธิต ซึ่งทำได้เสมือนจริงมาก

บ่ายของวันที่ 18 ธันวาคม 2567 ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ นพ.พิเชฎฐ์ จงเจริญ รองนายแพทย์ สสจ.ศรีสะเกษ, นายแพทย์นพพล บัวสี รอง ผอ.ฝ่ายการแพทย์คนที่ 1 รพ.ศรีสะเกษ และ พญ.ศรีอาภา อัจฉริยะสวัสดิ์ หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวช รพ.ศก ร่วมกับ แพทย์ – พยาบาล จากโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี เจ้าหน้าที่ชำนาญการพิเศษ ได้จัดการประชุม – ฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการ จัดการภาวะฉุกเฉินในผู้ป่วยจิตเวช สำหรับบุคลากร สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ปี 2568 ขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ บุคลากรทางการแพทย์ มีแนวทางการปฏิบัติ ขณะเกิดเหตุภาวะฉุกเฉินจิตเวชในโรงพยาบาล และเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถจัดการภาวะฉุกเฉินจิตเวช ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย แพทย์, พยาบาลในหอผู้ป่วยจิตเวช, รับผิดชอบ งานสุขภาพจิตและยาเสพติด, บุคลากรใน Mini ธัญญารักษ์ บุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ในโรงพยาบาล และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ รวมทั้งสิ้น 150 คน พร้อมกับการสาธิต สมมุติให้มีผู้ป่วยจิตเวช เกิดอาการคลุ้มคลั้ง ขึ้นมา 2 คน อาลวาดหนัก และได้มีขั้นตอนการเปิดการเจรจา และพยายามเกลี่ยกล่อม ก่อนที่จะมีการเข้าชาจตัว และล๊อค เพื่อควบคุม มัด รัด ด้วยผ้าที่เป็นอุปกรณ์ในการควบคุม ตามหลักการณ์การเข้าควบคุม ก่อนพาขึ้นเปล นำไปสู่ห้องสงบสติอารมณ์ ตามขั้นตอนวิธีปฎิบัติ ทั้ง 2 คน ซึ่งทั้งผู้ป่วยจิตเวช และทีมที่เข้าทำการเจรจา ควบคุม ทำได้สมจริงมากๆ จนนึกว่าคนบ้าจริง

จากนั้น นพ.พิเชฎฐ์ จงเจริญ รองนายแพทย์ สสจ.ศรีสะเกษ, นายแพทย์นพพล บัวสี รอง ผอ.ฝ่ายการแพทย์คนที่ 1 รพ.ศรีสะเกษ และ พญ.ศรีอาภา อัจฉริยะสวัสดิ์ หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวช รพ.ศก ร่วมกับ แพทย์ – พยาบาล จากโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี เจ้าหน้าที่ชำนาญการพิเศษ ได้ร่วมกันแถลงแผนปฎิบัติการที่ทำการฝึกอบรม ประชุมซักซ้อมทีมแพทย์ – พยายบาล และเจ้าหน้าที่ ว่า จากสถานการณ์ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้เกิด ภาวะตกงาน ขาดรายได้ ตลอดจนปัญหายาเสพติด ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งระบบสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม จนเกิดภาวะจิตเวชจากการใช้สารเสพติด และนำไปสู่ปัญหาผู้ป่วย จิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง ซึ่งอาจก่อความรุนแรงและเกิดเหตุการณ์ สะเทือนขวัญ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ผลักดันนโยบายให้โรงพยาบาลทุกแห่ง ให้บริการ รับผู้ป่วยไว้รักษาทั้งแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โดยเฉพาะในโรงพยาบาลในระดับ A S M1 M2 สามารถรับผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน ไว้รักษาแบบผู้ป่วยในโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยจิต เวช ที่เสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง ที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช ทำให้เกิดความความ เสี่ยงทั้งต่อบุคลากรที่ให้การดูแลรักษา และกับผู้ป่วยเอง

ซึ่ง ผู้ป่วยในลักษณะทางจิตเวช มีอาการคุ้มคลั่ง โดยไม่รู้ตัว รวมถึงผู้ที่เกิดจากการเสพยาเสพติด และการดื่มสุรา หรือเกิดจากตัวโรคของเขาเอง โรงพยาบาลทุกแห่ง เราเจอเป็นระยะๆ อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าส่วนใหญ่ เราจะจัดการกันอย่างถูกต้อง หรือว่าความรุนแรงไม่ได้มีความรุนแรงมาก ถึงขั้นถืออาวุธมาไล่ทำร้าย เราจึงสามารถจัดการกันได้ จะเห็นเราว่าเราคุ้นเคยกันอยู่ เพียงแต่ว่าในบางส่วน ที่มีการผิดพลาด ก็อาจจะด้วยความตกใจ ด้วยความที่ไม่คุ้นเคย และมีประสบการณ์น้อย ซึ่งส่วนใหญ่ เกือบ 100% เราได้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติทางที่ถูกต้อง นพ.พิเชฎฐ์ จงเจริญ รองนายแพทย์ สสจ.ศรีสะเกษ กล่าวปิดท้าย

///////////////////////   

ภาพ/ข่าว ทีมข่าว Timenews / ศรีสะเกษ 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

error: Content is protected !!