กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่จับตาสถานการณ์การผลิตหอมแดงศรีสะเกษ เผยปีนี้ผลผลิตคุณภาพดีมาก ระยะนี้กำลังออกสู่ตลาดมาก เร่งประสานผู้ประกอบการ และผู้ส่งออกเข้ารับซื้อจากเกษตรกร
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/12/IMG_5777-1024x576.jpeg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/12/IMG_5775-1024x576.jpeg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/12/IMG_5776-1024x576.jpeg)
วันที่ 20 ธันวาคม 2567 นายวิทยากร มณีเนตร อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์สินค้าหอมแดงศรีสะเกษ โดยได้พบกับ นายจีระศักดิ์ ศรีเพชร พาณิชย์จังหวัดศรีสะเกษ และนายอำเภอกันทรารมย์ และอำเภอยางชุมน้อย, เกษตรจังหวัด, เกษตรอำเภอ 2 อำเภอ นอกนั้นยังได้ประสานเชิญผู้ประกอบการ ทั้งผู้ส่งออก ผู้รับซื้อ ผู้รวบรวม ล้ง และห้างค้าส่ง ห้างท้องถิ่น อาทิ แม็คโคร โลตัส บิ๊กซี ท็อปส์ เซ็นทรัล โก โฮลเซลล์ มาร่วมติดตามสถานการณ์ และช่วยรับซื้อผลผลิตหอมแดงจากเกษตรกร พร้อมช่วยดูแลราคาให้ความเป็นธรรมกับพี่น้องเกษตรกร ในพื้นที่อำเภอกันทรารมย์ และพื้นที่อำเภอยางชุมน้อย ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งผลิต ปลูกหอมแดง ที่ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ อันดับที่ 2 รองจากข้าวของจังหวัดศรีสะเกษ โดยในพื้นที่อำเภอกันทรารมย์ ได้ร่วมกับนายอิทธิพล สุยะลา นายอำเภอกันทรารมย์ ลงสำรวจแปลงดูผลผลิตจริง ที่แปลงปลูกหอมของ แม่อรทัย บ้านละทาย หมู่ที่ 1 พบว่า มีพ่อค้านำเงินมาวางมัดจำก่อน แล้วตอนหอมแดงลงราคากลับเพิงเฉย ยังไม่มารับซื้อ เกษตรกรมีความซื่อสัตย์ก็ไม่กล้าที่จะขายหอมแดง ให้กับพ่อค้ารายอื่นๆ ประกอบราคาค้าขนส่งแพงขึ้น เพราะราคาน้ำมันขึ้นมากว่าทุกปี ทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรเพิ่มขึ้น
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/12/IMG_5778-1024x576.jpeg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/12/IMG_5779-1024x576.jpeg)
จากนั้นคณะอธิบดี เดินทางไปที่โรงแขวนตากหอมแดง ฉางมุนินทร์ แก้วคำ ที่หมู่บ้านคอนกาม อำเภอยางชุมน้อย พร้อมพบกับ นายสฤษดิ์ รัตนะวงษ์ นายอำเภอยางชุมน้อย และผู้ประกอบการ พ่อค้า – ล้ง พบว่าในปีนี้มีการส่งออกหอมแดงในปริมาณที่ลดลง กับสภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวนมาก หลังจากที่ประสบปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่อมาก็ประสบปัญหาภัยสงคราม ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกมีอัตราทดถอย การสั่งซื้อหอมแดงจากไทย ลดลง แต่ขณะที่การผลิตในปีนี้ ภูมิอากาศเป็นใจ ผลิตได้คุณภาพ ในปริมาณที่มากตามมา ทำให้หอมแดงมีมากขึ้น แต่ราคายังคงเดิม การเลือกซื้อของพ่อค้าจึงตกเป็นเรื่องกลไกของตลาด การนำหัวหอมแดงมาตากให้แห้ง เพื่อเพิ่มมูลค่าจึงจำเป็น และเพื่อการรอราคาด้วย
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/12/IMG_5771-1024x576.jpeg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/12/IMG_5781-1024x576.jpeg)
จากนั้นคณะได้เดินทางไปที่ศูนย์กลางการรับซื้อ แปรรูป และกระจายสินค้าหอมแดง ที่ฉางกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรยางชุมน้อย แม่หนิง ได้พบกับสมาชิกกลุ่ม ที่กำลังทำการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์หอมแดง ด้วยการนำมาลมัดเป็นจุด เป็นรูปหัวใจ พร้อมมีสติ๊กเกอร์ติดกำกับไว้ “รักใครให้หอม” โดยปกติ 1 กิโลกรัม ขายเป้นหอมปึ่งจะมีราคากิโลกรัมละ 17 – 18 .-บาท ในขณะนี้ แต่หากนำมาทำความสะอาด ตัดรากตบแต่งให้สวยวาม มัดจุดเป็นรูปต่างๆ ครึ่งกิโลกรัม 1 จุด ขายจุดละ 69.-บาท นั้นหมายถึงกิโลกรัมละ 130.-บาท แต่ผู้ที่มัดจุก ตบแต่งต้องมีความชำนาญ มีฝีมือ มาศึกษาเรียนรู้ก่อน ขณะที่มีการสั่งซื้อเข้ามามากในระยะนี้ เพื่อนำไปเป็นของฝาก ของขวัญปีใหม่ ขายอีมาก แม่บ้าน สมาชิกกลุ่มทำแทบไม่ทัน
นายวิทยากร มณีเนตร อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ จากการลงพื้นที่ กล่าวว่า ภาพรวมหอมแดงศรีสะเกษในช่วงนี้ คุณภาพดีมาก แต่ปริมาณผลผลิตออกเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาปรับตัวลดลงบ้าง แต่กระทรวงพาณิชย์ ได้ประสานผู้ประกอบการกลุ่มต่าง ๆ ให้เข้ามารับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในทันที และจะทำต่อเนื่องไปจนจบฤดูกาลผลิต เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องเกษตรกรว่าจะได้รับการดูแลตามที่ได้รับนโยบายจาก นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้สั่งการให้ดูแลพืชเกษตรทุกชนิด ให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ราคาเป็นธรรมและคุ้มต้นทุน
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/12/IMG_5783-1024x576.jpeg)
กรมยังได้หารือพี่น้องเกษตรกร และผู้ประกอบการกลุ่มต่าง ๆ ที่เข้าร่วม เพื่อหารือสถานการณ์ด้านการผลิต การตลาด และมาตรการดูแลหอมแดง โดยในด้านการผลิต คาดว่า ผลผลิตจะมีปริมาณรวม 152,221 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.69 โดยจังหวัดศรีสะเกษ ถือเป็นแหล่งเพาะปลูกที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ปริมาณ 80,771 ตัน คิดเป็นร้อยละ 53 ซึ่งแหล่งผลิตสำคัญอยู่ในพื้นที่อำเภอราษีไศล, อำเภอยางชุมน้อย และอำเภอกันทรารมย์ โดยขณะนี้ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดแล้ว ส่วนด้านการตลาด ได้หารือการผลักดันการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ นอกเหนือจากการระบายผลผลิตในประเทศ ที่กระทรวงพาณิชย์ได้นำผู้ประกอบการกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาเชื่อมโยงรับซื้ออยู่แล้ว เห็นว่า ตลาดสำคัญ คือ ตลาดอินโดนีเซีย แต่การส่งออกค่อนข้างยากลำบาก ทำให้การระบายไปยังต่างประเทศทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่จะผลักดันให้มีการส่งออกให้ได้รวมถึงตลาดเวียดนามด้วย
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/12/IMG_5784-1024x576.jpeg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/12/IMG_5785-1024x576.jpeg)
นอกจากนี้ ยับพบปัญหาการทำสัญญาซื้อขายระหว่างตัวนายหน้า กับเกษตรกร ที่ไม่ตรงไปตรงมา โดยได้กำชับให้มีการดำเนินการให้ตรงไปตรงมา สัญญากำหนดไว้ว่าจะซื้อที่ราคาเท่าไร ถึงหน้างาน ก็ควรจะซื้อในราคานั้น ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ประสานไปยังนายอำเภอ ทำงานร่วมกับทางพาณิชย์จังหวัดเข้าไปกำกับดูแล เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่พี่น้องเกษตรกรแล้ว สำหรับมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ นอกเหนือจากการประสานผู้ประกอบการเข้าไปรับซื้อ กรมจะไปพิจารณาว่าจะเพิ่มมาตรการด้านการตลาด เพื่อช่วยเร่งระบายผลผลิตหอมแดงให้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร ซึ่งที่ได้ทำแล้ว เช่น การนำระบายผ่านการจำหน่ายสินค้าในงานธงฟ้า โมบายพาณิชย์ และการรณรงค์ให้ซื้อหอมแดงเป็นของขวัญปีใหม่ เป็นต้น
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/12/IMG_5786-1024x576.jpeg)
////////////////////////
ภาพ/ข่าว ทีมข่าว Timenews / ศรีสะเกษ