ภัยแล้งส่งผลน้ำแห้งขอด ชาวบ้านไม่มีน้ำอุปโภค-บริโภค

คลองระวี ที่เป็นสายน้ำเส้นเลือดใหญ่ อำเภอศรีรัตนะ แห้งขอดมานานกว่า 2 เดือน ส่งผลกระทบระดับน้ำใต้ดินแห้งหาย ไม่มีน้ำดิบใต้ดินที่จะสูบขึ้นมาผลิตน้ำประปา เทศบาลโดนชาวบ้านร้องเรียน ทำได้เพียงเร่งออกจ่ายน้ำ วันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ที่ คลองระวี สายน้ำที่เป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ไหลต่อเนื่องมาจากอำเภอไพรบึง ที่รับน้ำมาจากเทือกเขาพนมดงรัก ชายแดนไทย – กัมพูชา ไหลผ่านอำเภอไพรบึง อำเภอศรีรัตนะ ไหลไปบรรจบกับลำน้ำห้วยทา อำเภอน้ำเกลี้ยง แต่วันนี้จากสภาพอากาศของอำเภอศรีรัตนะ ที่ไม่มีฝนตกต่อเนื่องมากว่า 2 เดือน ส่งผลให้น้ำในคลองระวี ที่ลึกกว่า 3 เมตร เคยมีน้ำหล่อเลี้ยงตลอดปี แต่วันนี้แห้งขอด ดินที่อยู่ก้นลำคลองแตกระแหง ทำให้อำเภอศรีรัตนะ เกิดความแห้งแล้งมาต่อเนื่องกว่า 2 เดือน ระดับใต้ดินก็แห้งหายไปหมด ไม่มีแม้กระทั้งน้ำดิบที่จะสูบขึ้นมาจากใต้ดิน เพื่อที่จะมาผลิตเป็นน้ำประปา จากจ่ายให้ประชาชนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลตำบลศรีรัตนะ จำนวนกว่า 1,300 ครัวเรือน ได้รับผลกระทบไม่มีน้ำประปาใช้ ได้พากันร้องเรียนไปยังเทศบาลตำบลศรีรัตนะ เพื่อขอความช่วยเหลือ แต่เทศบาลตำบลศรีรัตนะ ก็ทำได้เพียง นำรถดับเพลิงบรรทุกน้ำสะอาด…

Read More

ดีดโบสถ์อายุกว่า 50 ปี หนีน้ำท่วม

ชาวบ้านสงยาง อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ แห่บูชาสาธุกับพระครูเจ้าอาวาสวัด ที่ตัดสินใจนำเงินสะสมมาว่าจ้างช่างมาดีดโบสถ์ อายุ 53 ปี หลังถูกน้ำท่วมใหญ่จนทรุดต่ำกว่าพื้นดินปกติราว 1 เมตร พร้อมแห่ส่องเลข  วันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ที่ วัดบ้านสงยาง ตำบลกุง อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ ชาวบ้านได้ออกมาวัดกันเป็นจำนวนมากแทบทุกวัน ทุกเช้า เพราะในช่วงนี้ พระครูขันติธรรมภิบาล เจ้าอาวาสวัด ได้นำเงินที่ญาติโยมนำมาทำบุญ ทั้งทอดผ้าป่า ทอดกฐิน เก็บสะสมมาหลายปี โดยได้ขอคณะกรรมการวัด-หมู่บ้าน นำเงิน จำนวน 540,000.-บาท ออกมาเพื่อว่าจ้างนายช่างและทีมงานที่มีคุณภาพ มาทำการดีดโบสถ์ยกขึ้นสูงจากเดิม ราว 1 เมตร เนื่องจากที่ผ่านมา ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ เพราะพื้นโบสถ์อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดินปกติของลานวัด ทำให้น้ำได้ไหลมารวมกันที่เป็นแอ่งกระทะที่โบสถ์ แม้น้ำไม่ท่วม แต่หากเกิดฝนตกหนักน้ำก็จะไหลเข้ามาท่วมที่โบสถ์ ซึ่งโบสถ์หลังนี้ได้มีการก่อสร้างมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2514 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2518 ด้วยความร่วมมือของชาวบ้านสงยาง และญาติโยมทั่วสารทิศ ด้วยความศรัทธา พร้อมยังมีการนำสิ่งมลคลต่างๆ เงินทอง…

Read More

ยิ่งใหญ่ ! ประเพณีบุญบั้งไฟตำบลหนองแวง มหกรรมรถแห่สุดมันส์

ในการจัดงานบุญบั้งไฟเอ้งาม กันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จัดเป็นมหกรรมรถแห่มากที่สุดในภาคอีสาน 39 คัน เปิดเครื่องเสียงพร้อมกัน ทยอยจัดขบวนแห่ เปิดเครื่องเสียงสุดมันส์ ผ่านหน้ากรรมการ ทำเอากรรมการหูอื้อ วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ที่ สนามหน้าสถานีตำรวจภูธรหนองแวง (เก่า) ตำบลหนองแวง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ร่วมกับ ปกครองอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จัดงานฉลองงานบุญประเพณีบุญบั้งไฟอำเภอกันทรารมย์ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนการจัดงาน จากสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ผลักดันงบประมาณผ่าน นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ สส.จังหวัดศรีสะเกษ เขต 2 พรรคเพื่อไทย โดยมี นายสุรกิจ ศรีเกษม เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์และการปฏิรูปประเทศ, นางศรีสุภรณ์ ชมศรีหาราชพร ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุรินทร์ และ นายสมบูรณ์ ต่อนคำสนธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ร่วมพิธีเปิดโครงการสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟกันทรารมย์ พร้อมชมการแสดง ขบวนแห่ฉลองงานบุญบั้งไฟของชาวตำบลหนองแวง โดยมีกลุ่มชาย-หญิงออกมาร่วมจัดขบวนของตนเอง…

Read More

ตำบลโพนค้อแห่ฉลองบุญบั้งไฟชาวเยอ อย่างยิ่งใหญ่

ชนเผ่าเยอโพนค้อ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จัดขบวนแห่ฉลองบุญบั้งไฟชาวเยอ อย่างยิ่งใหญ่ รวมของแปลก สืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ จากอดีตสู่ปัจจุบัน แห่จากชุมชน สู่ ศาลเจ้าพ่อพระยากตะศิลา ไหว้ของพรบรรพบุรุษชนเผ่า วันที่ 9 พฤษภาคม 2567 ถนนกลางหมู่บ้านโพนค้อ จากบริเวณหน้าวัดโพนค้อ ตำบลโพนค้อ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ พี่น้องประชาชน หนุ่มหล่อสาวสวย จากทุกหมู่บ้าน แต่งกายด้วยชุดประจำเผ่าเยอ จัดขบวนออกมาสืบสานประเพณี “บุญบั้งไฟชนเผ่าเยอ” โดยมี นายพิชิตชัย อินทอง นายก อบต.โพนค้อ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ กำนัน – ผู้ใหญ่บ้าน คอยร่วมจัดขบวน แห่ขบวนบั้งไฟ จากกลางหมู่บ้าน ผ่านบริเวณหน้าวัดโพนค้อ ไปยังศาลปู่ตาโพนค้อ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตำนานชนเผ่าเยอ พระยากตะศิลา ผู้นำชนเผ่าเยอ ที่ได้นำชาวบ้านแยกย้ายอพยพมาตั้งรกรากบ้านเรือนอยู่บริเวณแถบนี้ ซึ่งในทุกๆ ปี จะได้จัดขบวนแห่ขบวนบุญบั้งไฟ ไปเซ่นไหว้ขอพรยังศาลปู่ตา เพื่อขอให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ขอให้ข้าวน้ำอุดมสมบูรณ์ ทำนาข้าวนาปีให้ได้ผลดี มีผลผลิตเต็มทุ่งนา เก็บเกี่ยวข้าวให้ได้เต็มยุ้งฉาง ขายให้ได้ราคาสูง หมดหนี้หมดสิน…

Read More

เทศบาลตำบลหนองใหญ่สืบสานประเพณี “ขอน้ำเอาทราย”

วันที่ 8 พฤษภาคม 2567 เทศบาลตำบลหนองใหญ่ งานกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเทศบาลตำบลหนองใหญ่ นำโดยนายเอกอมร มะโนรัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลหนองใหญ่เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยนางอัจฉรา ศรชัย ประธานสภาเทศบาลตำบลหนองใหญ่ คณะผู้บริหาร นายบัญญัติ พรหมรัตน์ผู้ใหญ่บ้านหนองใหญ่ หมู่ที่ ๑๐ สมาชิกสภาเทศบาลตำบลหนองใหญ่ ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ พนักงานลูกจ้าง เทศบาลตำบลหนองใหญ่ และประชาชนตำบลหนองใหญ่ ร่วมสืบสานประเพณี “ขอน้ำเอาทราย ” ประจำปี ๒๕๖๗ เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ณ ท่าน้ำบ้านชบา (อาพืด) ตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ /////// ภาพ/ข่าว พงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์ / ศรีสะเกษ

Read More

Soft Power ชุมชนบ้านบก แกงหวายใส่แมงจีนูน วุ้นตาลกะทิสด

กลุ่มวิสาหกิจอุสาหกรรมท่องเที่ยวชุมชนบ้านบก อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ เรียนรู้ Soft Power แกงหวายใส่แมงจีนูน วุ้นตาลกะทิสด หวังยกระดับเป็น 1 อำเภอ 1 เมนูหลัก นักท่องเที่ยวมาเยือนต้องได้ชิม เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ   วันที่ 9 พฤษภาคม 2567 ที่ ห้องประชุม องค์การบริหารส่วนตำบลบก อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ องค์การบริหารส่วนตำบลบก ปกครองอำเภอโนนคูณ พร้อมด้วย นายพายัพ ณภัทรหนองบัว คณะทำงาน ตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอำเภอโนนคูณ และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจอุสาหกรรมท่องเที่ยวชุมชนบ้านบก ได้มาศึกษา เรียนรู้ ในเรื่อง การท่องเที่ยวชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน ในการยกระดับเมนูอาหารพื้นบ้าน ที่ทำบริโภคในเป็นประจำในครัวเรือน จากวัตถุดิบจากธรรมชาติ ในชุมชน พัฒนาขึ้นมาเป็น 1 อำเภอ 1 เมนูอาหารเพื่อการท่องเที่ยว มุ่งหวังให้เกิด Soft Power ประจำอำเภอโนนคูณ โดยวันนี้ได้มี นายพงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ…

Read More

ไหว้กู่สมบูรณ์พันปี ด้วยข้าวหมากหลากศรีบึงบูรพ์

ชาวบ้านเป๊าะ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมเรียนรู้ในการทำข้าวหมากหลากศรีบึงบูรพ์ เพื่อร่วมขบวนแห่พานบายศรี ไหว้กู่สมบูรณ์พันปี สมัยขอมเรืองอำนาจ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ วันที่ 8 พฤษภาคม 2567 ที่ วัดป่าเนรัญชรา ตำบลเป๊าะ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ ชาวบ้านจาก 25 หมู่บ้านในอำเภอบึงบูรพ์ นำโดย นายเกียรติศักดิ์ บุณกัญหา คณะทำงาน ตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประจำเภอบึงบูรพ์ ได้เดินทางออกมาร่วมกันศึกษา เรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการทำข้าวหมากหลากศรีบึงบูรพ์ หรือเมื่ออดีตพันกว่าปี เรียก น้ำจัน หรือน้ำเมา เพื่อถวายแด่องค์มหาเทพ พระศิวะเทพ ยังที่ตั้งกู่สมบูรณ์ที่มีอายุราวหนึ่งพันกว่าปีเศษ สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวอำเภอบึงบูรพ์ ที่เชื่อกันว่า มีดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่สิ่งสถิตย์อยู่ เพื่อปกป้อง ดูแลลูกหลานของตน ซึ่งทุกปี ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ก่อนที่จะมีการลงทำไร่ ไถนา ในการประกอบอาชีพการเกษตร ชาวบ้านที่เป็นเกษตรกร จะต้องนำเครื่องเซ่นไหว้ มาไหว้บูชา ขอพรจากกู่สมบูรณ์…

Read More

เฝ้าระวังไฟป่าตามแนวชายแดนอำเภอขุนหาญ

วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 นายสุกิจ เหลืองสกุลไทย นายอำเภอขุนหาญ พร้อมด้วย นายบัญชา ประเสริฐศรี หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ร้อยเอก บัณฑิต โยดิน ผู้บังคับกองร้อยทหารพรานที่ 2609 นายจุติเพชร บุญเนตร ปลัดอำเภอ ฝ่ายความมั่นคง ลงพื้นที่ตรวจสอบจุดความร้อน Hotspot ที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่อำเภอขุนหาญ ณ บริเวณทุ่งกบาลกะไบ และฐานปฏิบัติการเนิน 620 กองร้อยทหารพรานที่ 2609 ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ในการนี้ จากการลงพื้นตรวจสอบสถานการณ์ฝุ่นละออง และหมอกควันที่เกิดจากการเผาป่าของประเทศเพื่อนบ้านเริ่มจางลงและมีแนวโน้มดีขึ้น พร้อมทั้งได้ประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและรายงานให้อำเภอทราบเป็นระยะ พร้อมนี้ ได้มอบเครื่องดื่ม เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในการเฝ้าระวังไฟป่าจากประเทศเพื่อนบ้านและเวลาประมาณ 15.30 น. อำเภอขุนหาญได้รับรายงานว่ามีฝนตกบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก และตำบลบักดอง ตำบลพราน ตำบลห้วยจันทร์ ทำให้สถานการณ์ Hotspot มีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ และสวนทุเรียนในพื้นที่ได้รับน้ำหล่อเลี้ยงต้นคลายความร้อนและขาดแคลนน้ำในระดับหนึ่ง /////////////////////// ข่าว พงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์ / ศรีสะเกษ

Read More

ผู้ว่าฯศรีสะเกษ แจกจ่ายน้ำประปาช่วยชาวบ้าน บรรเทาทุกข์สู้ภัยแล้ง

สถานการณ์ภัยแล้งในจังหวัดศรีสะเกษ เข้าสู่วิกฤต ในหลายพื้นที่ อปท.ต้องเร่งออกแจกจ่ายน้ำอุปโภค – บริโภค ช่วยเหลือชาวบ้านที่ต้องควักกระเป๋าซื้อน้ำดื่ม – น้ำใช้ ขณะที่ผู้ว่าฯ สั่งท้องถิ่นทุกแห่ง ห้ามชาวบ้านไม่มีน้ำใช้ วันที่ 28 เมษายน 2567 ที่ วัดบ้านม่วง ตำบลแต้ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยนายอำเภออุทุมพรพิสัย, ปภ.จังหวัด ร่วมลงพื้นที่พบปะชาวบ้านในเขตตำบลแต้ โดย นายสุวิทย์ แท่นทอง นายกเทศมนตรีตำบลแต้ ได้นำเสนอปัญหาในเรื่องภัยแล้ง พบว่า ชาวบ้านขาดแคลนน้ำอุปโภค – บริโภค อย่างหนัก เฉพาะตำบลแต้ 8 หมู่บ้าน ขาดขนาดน้ำดื่มต้องซื้อกินทุกวัน น้ำใช้ต้องซื้อใช้ทุกวัน ทั้งน้ำอาบ ที่หลายคนต้องทนทุกข์ งดอาบน้ำมาตลอด 3 วัน เพื่อประหยัดเงินซื้อน้ำอาบ แม้อากาศจะร้อน ต้องการอาบน้ำก็ต้องทน ประปาหมู่บ้านใช้การไม่ได้ เพราะแหล่งน้ำดิบที่จะนำมาผลิตน้ำประปาขาดแคลน ตื้นเขิน น้ำแห้ง งดซักเสื้อผ้า…

Read More

ไอเดียเจ๋ง! ทำบาล์มแก้หวัดจากหอมแดงอินทรีย์ศรีสะเกษ

โรงพยาบาลเบญจลักษ์ ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ จัดอบรม ทำบาล์มแก้หวัดจากหอมแดง พืช GI จังหวัดศรีสะเกษ เพิ่มมูลค่าเป็นสมุนไพรไทย ต่อยอดธุรกิจการท่องเที่ยว Soft Power วันที่ 26 เมษายน 2567 ที่ ห้องประชุมโรงพยาบาลเบญจลักษ์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดศรีสะเกษ นายแพทย์ พัฒนศักดิ์ ทั่งนาค ผอ.โรงพยาบาลเบญจลักษ์ ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ โดย นายพงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์ ประธานสภาฯ ได้จัดอบรมโครงการอบรม 1 อำเภอ 1 กิจกรรมสร้างสรรค์ 1 เมนู เรื่อง การทำบาล์มแก้หวัด จากหอมแดงศรีสะเกษ โดยได้รับสมัครผู้นำชุมชนในเขตอำเภอเบญจลักษ์ เข้ารับการฝึกอบรม 1 วัน จำนวน 20 คน ในการพัฒนาค้นหา Soft Power ด้านการท่องเที่ยว ชูชุมชนให้เกิดอาชีพ ในการสร้างรายได้ด้วยตัวชุมชนเอง ภายหลังจากได้มีการบาล์มแก้หวัด จากหอมแดงศรีสะเกษ และใช้ได้จริง ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา ในการนำไปให้ผู้ที่ป่วยติดเชื้อ…

Read More
error: Content is protected !!