ฉลอง 100 ปี วัดนักบุญยอแซฟหนองทามน้อย

วันที่ 16 เมษายน 2567 ที่ วัดนักบุญยอแซฟหนองทามน้อย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ตลอดทั้งวันนี้ได้มีพิธีฉลองครบ 100 ปี ชาวบ้านแต่งกายสวยงาม กว่า 100 ชีวิต ได้ออกมาร่ายรำเพื่อฉลองครบ 100 ปี ที่ได้พากันมาก่อตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านหนองทามน้อยแห่งนี้ จากเดิมเมื่อปี พ.ศ.2467 ได้มีชาวบ้าน 3 ครอบครัว ได้อพยพหนีความวุ่นวาย มาจากบ้านลิ้นฟ้า – บ้านเตาเหล็ก ข้ามแม่น้ำมูลมาหาที่อยู่ที่ทำมาหากิน ทางทิศใต้ของอำเภอกันทรารมย์ เรียกว่า บ้านส้มโฮง ใกล้กับลำห้วยสะบ้า หรือลำห้วยบักบ้า ในปัจจุบันได้เรียนคำสอน รับความเชื่อในพระเจ้า ก่อนที่คุณพ่อบาทหลวงจะได้ตั้งโรงสวดขึ้นที่บ้านส้มโฮง แต่ต่อมาเกิดโรคระบาด ชาวบ้านเชื่อว่ามีผีร้าย จึงได้หารือกับบาทหลวง และพากันอพยพห่างลงมาอีก ประมาณ 2 กิโลเมตร ใกล้หนองน้ำขนาดใหญ่ เลือกเป็นทำเลที่ตั้งบ้านใหม่ เรียก บ้านหนองทามน้อย มีชาวบ้านเริ่มต้นราว 5 – 10 ครัวเรือน จนขณะนี้มี 2 หมู่บ้าน…

Read More

ชนเผ่ากูยสืบสานประเพณีทำบุญรวมญาติ

ชนเผ่ากูย อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ สืบสานประเพณี ทำสะพานคนให้พระสงฆ์เดิน รับโยมสรงน้ำในวันศกใหม่ พร้อมการทำบุญรวมญาติ แห่ศพรวมญาตินับร้อย ฌาปนกิจศพโลงจริง พิธีจริง แต่ศพเศษกระดาษ วันที่ 15 เมษายน 2567 ที่ วัดพระธาตุเมืองจันทร์ ปราสาทบ้านเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ พระครูสุวัจน์ จันทคุณ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุเมืองจันทร์ ประธานคณะสงฆ์, นายมิตร สัมโย นายก อบต.เมืองจันทร์ ร่วมกับญาติพี่น้องชนเผ่ากูย ได้ออกมารวมกันที่วัด เพื่อประกอบพิธีสรงน้ำพระคุณเจ้า ด้วยการทำสะพานคนให้พระสงฆ์เดินไปบนหลัง เพราะเชื่อว่าอริยะสงฆ์ที่เดินไปบนหลัง จะส่งให้ตนเองสุขภาพแข็งแรง หายจากอาหารปวดเมื่อยหลัง ได้บุญกุศลแรง ประกอบกิจการงานใดก็จะสำเร็จ จากนั้นก็กราบนิมนต์พระสงฆ์ไปนั่งที่เก้าอี้ วางเท้าพระสงฆ์ไปบนก้อนหิน ที่วางอยู่บนใบตองกล้วยทั้งใบที่สวย สมบูรณ์ที่สุด เพื่อรองรับน้ำที่ญาติโยมมาสรงพระ ก่อนที่จะได้ร่วมกันถวายภัตรหารเพล ร่วมทานข้าวกันที่วัดทุกคน หลังจากทานเสร็จล้างถ้วยล้างจานเสร็จได้กลับมารับฟังพระธรรมเทศนา เกี่ยวบุญกุศลที่มีต่อบุพการีจะได้อานิสงค์ยิ่งใหญ่ เลี้ยงบิดามารดาเมื่อครั้งมีชีวิตอยู่ ดีกว่าไปเลี้ยงตอนที่ท่านลาโลกไปจากเราแล้ว ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะได้รับไหม จากนั้นได้ร่วมกันทำบุญรวมญาติ พี่น้อง พ่อ-แม่ ปู่ย่า – ตายาย…

Read More

พุทธศาสนิกชนแห่ถวายผ้าป่า หลวงพ่อมุม อริยะสงฆ์ 5 แผ่นดิน

ประชาชนจากทั่วประเทศ นับหมื่น แห่ร่วมทำบุญถวายกองผ้าป่าหย่อนลงตู้เซฟใหญ่ ฉลององค์รูปเหมือน หลวงพ่อมุม อินทปัญโญ พระอริยะสงฆ์ 5 แผ่นดิน วัดปราสาทเยอเหนือ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อปรับภูมิทัศน์รอบองค์ วันที่ 14 เมษายน 2567 ที่ วัดปราสาทเยอเหนือ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาทเยอ ที่สร้างขึ้นในสมัย ศตวรรษที่16 เป็นปราสาทขอมโบราณ วันนี้ พระวชิรสิทธิธาดา เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ประธานฝ่ายสงฆ์, นายวิชิต ไตรสรณกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ประธานฝ่ายฆารวาส ร่วมกับพี่น้องประชาชน พุทธศาสนิกชนจากทั่วประเทศ และต่างประเทศ จำนวนมาก ได้เดินทางมาร่วม พิธีฉลององค์รูปเหมือนหลวงพ่อมุม อินทปัญโญ พระอริยะสงฆ์ 5 แผ่นดิน 5 รัชกาล 5 พระมหากษัตริย์ ภายใต้พระบรมโพธิสมภารการปกครองผืนแผ่นดินไทย นับตั้งแต่รัชสมัยพระบามสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 สิริอายุรวม 93 ปี โดยอยู่ในเพศบรรพชิต…

Read More

ชนเผ่ากูยไหว้พระธาตุเมืองจันทร์ บูชาพระพุทธเจ้าใหญ่องค์ผืด

ชนเผ่ากูย ร่วมประกอบพิธีไหว้พระธาตุ เปลี่ยนผ้าอังสะ บูชาพระพุทธเจ้าใหญ่องค์ผืด ในช่วงวันปีใหม่ไทย มหาสงกรานต์ ที่ปราสาท วัดพระธาตุเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ พร้อมรำถวายขอพร วันที่ 13 เมษายน 2567 ที่ วัดพระธาตุเมืองจันทร์ ปราสาทบ้านเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ พระครูสุวัจน์ จันทคุณ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุเมืองจันทร์ ประธานคณะสงฆ์, นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ประธานฝ่ายฆราวาส, นายพงศ์พสิน ดวงเกต รอง ผอ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุรินทร์-ศรีสะเกษ, นายพงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ, นายณรงค์กร เผื่อแผ่ นายอำเภอเมืองจันทร์, พร้อมด้วย นายมิตร สัมโย นายก อบต.เมืองจันทร์, ดร.เอกอมร มโนรัตน์ นายกเทศบาลตำบลหนองใหญ่-ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองจันทร์, นายแท่ง สุระ นายก อบต.ตาโกน, นายชยามร บุญเต็ม นายก…

Read More

ชาวบ้านแห่สรงน้ำพระไม้โบราณ เทศกาลมหาสงกรานต์

ชาวบ้านในอำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ แห่ร่วมสรงน้ำพระไม้โบราณ ที่พระคุณเจ้านำลงมาจากอุโบสถปีละครั้งในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ โดยคณะสงค์ทางวัด จะนำพระใส่รถยนต์ตระเวนไปตามหมู่บ้านให้สรงน้ำ วันที่ 13 เมษายน 2567 ที่ วัดพระธาตุเมืองจันทร์ บ้านเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ พระคุณเจ้าจากวัดบ้านเมืองจันทร์ พร้อมด้วยมัคทายกวัด คณะกรรมการวัด ได้อัญเชิญพระพุทธรูป ตั้งบนท้ายรถยนต์ เพื่อนำแห่ไปตามหมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่ในเขตตำบลเมืองจันทร์ เพื่อเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชนได้ร่วมกันสรงน้ำพระพุทธรูป ตามประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาตลอดทุกปี ในช่วงวันปีใหม่ไทย วันสงกรานต์แบบไทยๆ โดยก่อนหน้าที่จะแห่พระพุทธรูปไปตามถนนผ่านหมู่บ้าน ก็ได้มีพี่น้องประชาชน ออกมายืนรอที่จะสรงน้ำพระกันเป็นจำนวนมาก โดยได้จัดตรียมน้ำอบ น้ำหอม ใส่ขันเงิน ขันสีทอง มารอตามตลอดสายทาง ขณะที่ขบวนแห่พระพุทธรูปผ่านไปก็จะทำการสรงน้ำพระพุทธรูป พร้อมกันนี้ยังได้ถือโอกาสรดน้ำให้พร ขอพรกันระหว่างชาวบ้านกันเอง ถือเป็นประเพณีวันสงกรานต์ที่อบอุ่นไปตามแบบประเพณีโบราณ ที่ไม่มีการสาดน้ำรุนแรง   และที่สำคัญ คณะกรรมการวัดพระธาตุเมืองจันทร์ นอกจากนั้นคณะกรรมการวัด ยังได้อัญเชิญพระพุทธรูปไม้โบราณ ลงมาจากโบสถ์เพื่อนำรถยนต์แห่ไปพร้อมขบวนนี้ด้วย ถึง 3 องค์ แห่ไปให้พี่น้องประชาชนได้สรงน้ำ ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลแด่ตนเอง และครอบครัวด้วย นับเป็นเรื่องที่ดี ก่อนที่ชาวบ้านจะได้ติดตามขบวนเข้าไปที่วัด เพื่อทำบุญ ถวายภัตรหารเพล…

Read More

ย้อนรำลึกปราสาทสระกำแพงใหญ่ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 5 แห่งวิศุวสงกรานต์

ชาวอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ จาก 19 ตำบล กว่าพันคน ร่วมขบวนแห่ นำพานบายศรี น้ำศักดิ์สิทธิ์ไปไหว้ ราดรดลงบนศิวลึงค์ ที่ปราสาทหินสระกำแพงใหญ่ ชมการแสดง แสง – สี – เสียง ตำนานการสร้างปราสาทหินสมัยขอมโบราณ ค่ำของวันที่ 10 เมษายน 2567 ชาวอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้สืบเชื้อสายมาจากชน 4 เผ่า อันได้แก่ เผ่าส่วย เผ่าเขมร เผ่าเยอ และเผ่าส่วย หรือกูย โดยเฉพาะเผ่าเขมร ที่ได้สร้างตำนานอันงดงามเจริญรุ่งเรืองเอาไว้ให้ลูกหลานได้ระลึกนึกถึง ถึงความยิ่งใหญ่ของชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในแถบนี้ ซึ่งปัจจุบันอำเภออุทุมพรพิสัย มี ด้วยกัน 19 ตำบล วันนี้นางรำได้แต่งกายด้วยผ้าประจำถิ่นของชนเผ่า อย่างน้อยตำบลละ 30 คน รวม 570 คน นำพานบายศรีมาเดินเท้า ร่ายรำเพื่อเดินทางไปสู่ปราสาทหินสระกำแพงใหญ่ ด้วยจิตศรัทธา จากหน้าที่ว่าการอำเภออุทุมพรพิสัย ระยะทางกว่า 5 กิโลเมตร…

Read More

แข่งขันเมนูพื้นบ้านประจำถิ่น ส่งเสริมการท่องเที่ยว

สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ จัดแข่งขันทำเมนูเด็ด อาหารอร่อย สะอาด ถูกหลักอนามัย ไว้เป็นเมนูประจำอำเภอน้ำเกลี้ยง โดยมีแม่บ้านจาก 6 ตำบล นำวัตถุดิบมารังสรรค์เมนูพื้นบ้าน ประจำถิ่นของตนเอง วันที่ 5 เมษายน 2567 ที่ หน้าที่ว่าการอำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ คณะกรรมการจาก สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับปกครองอำเภอน้ำเกลี้ยง สาธารณสุขอำเภอน้ำเกลี้ยง จัดการแข่งขันการทำอาหารเมนูเด็ด 1 อำเภอ 1 เมนู เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในด้านอาหาร ถูกใจใช่เลย แก่นักท่องเที่ยว มุ่งหวังให้ขึ้นสู่อาหารที่คุณตามหา อยากมาทาน โดยได้มีแม่บ้าน จาก 6 ตำบล ที่รวมตัวกันมาเป็นทีม ทีมละ 3 คน เพื่อมาประกอบอาหารให้คณะกรรมการได้ตรวจตัดสิน นับตั้งการการเตรียมวัตถุดิบ การปรุงสุก การจัดพาอาหารที่สวยงาม ก่อนที่คณะกรรมการจะได้ชิม ก่อนให้คะแนน ประกาศผล ให้เมนูที่ได้มาตรฐานเมนูเด็ด ได้ชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล พร้อมใบประกาศ จากนายอำเภอน้ำเกลี้ยง โดยกลุ่มแม่บ้านที่นำเสนอเมนูอาหารในวันนี้ได้แก่ ระแวกะตาม (…

Read More

พิธีบวงสรวงอโรคยาศาล ปราสาทสระกำแพงน้อย ตักน้ำศักดิ์สิทธิ์

เม็ดฝนโปรยปรายขณะพ่อพราหมณ์อ่านคำบูชา อัญเชิญเทพเทวาอารักษ์ ในการประกอบพิธีบวงสรวงอโรคยาศาล ปราสาทหินสระกำแพงน้อย สมัยขอมเรืองอำนาจ เพื่อขอขมาก่อนตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ นำไปรดบนองค์ศิวลึงค์ ในปราสาทหินสระกำแพงใหญ่ ในวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 5 แห่งวิศวสงกรานต์ ขณะที่เมื่อวาน อุณภูมิ 41 องศา วันที่ 9 เมษายน 2567 ที่ ปราสาทหินสระกำแพงน้อย หรือ อโรคยาศาล สมัยขอมเรืองอำนาจ นับพันปีล่วงผ่านมา วันนี้ได้มีพ่อพราหมณ์ พร้อมด้วยคณะสงฆ์ มาร่วมประกอบพิธีบวงสรวง ไหว้ขอขมาแด่ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ เพื่อขออนุญาตที่จะตักน้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ข้างองค์ปราสาท เพื่อนำไปประกอบพิธีกรรม ในการย้อนรำลึกปราสาทสระกำแพงใหญ่ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 5 แห่งวิศุวสงกรานต์ ณ ปราสาทหินสระกำแพงใหญ่ ที่สร้างขึ้นราว ศตวรรษที่ 16 โดยมี นายพศิน ทาศิริ นายอำเภออุทุมพรพิสัย ร่วมกับ นายกเทศบาลตำบลสระกำแพง, นายกเทศบาลตำบลสระกำแพงใหญ่, นายก…

Read More

เปิดสงกรานต์หาดนางเหงา แข่งขันชิงแชมป์วอลเลย์บอลชายหาด

จังหวัดศรีสะเกษ เปิดสงกรานต์หาดนางเหงา จัดแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดหญิง ชิงแชมป์หาดนางเหงาครั้งที่ 1 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเทศกาลมหาสงกรานต์ของไทย ของจังหวัดศรีสะเกษ ชาวบ้านนำลูกหลานมาโบกรถ วันที่ 8 เมษายน 2567 ที่สะพานข้ามแม่น้ำมูล ที่ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ทุกท่านที่ขับรถผ่านไปจะสังเกตพบเห็น ศาลเจ้าแม่หาดนางเหงา ที่มีประวัติเล่าขานกันมานาน ว่ามีสาวสวยมานั่งรอชายคนรักที่จะข้ามแม่น้ำมูล จากฝั่งอำเภอกันทรารมย์ มาหาที่ฝั่งบ้านละทาย เมื่อ 50 กว่าปี ที่ยังไม่มีสะพานข้าม ต้องอาศัยเรือแจวข้ามแม่น้ำมูลไปมา แต่ชายหนุ่มก็สัญญาว่าจะมาสู่ขอสาวเพื่อแต่งงาน แต่สุดท้ายชายหนุ่มก็ไม่มา ปล่อยให้สาวเจ้ารอจนเสียชีวิต และช่วงเวลากลางคืนจะมีคนพบเห็นดวงวิญญาณสาวมานั่งคนรักอยู่บ่อยๆ ชาวบ้านจึงพากันตั้งศาลเรียกว่า “ศาลเจ้าแม่หาดนางเหงา” พร้อมพากันเล่าขานเรียกหาดทรายที่สวยสะอาดตรงนี้ ที่อยู่ใต้สะพานข้ามแม่น้ำมูลนี้ว่า หาดนางเหงา จากความสวยงาม ชาวบ้านได้มาสร้างแพอาหาร ไว้บริการแก่นักท่องเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก แต่ที่ผ่านๆ มาก็มีนักท่องเที่ยวรู้จักน้อย ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวมาสักเท่าใด วันนี้ ปกครองอำเภอกันทรารมย์ โดย นายอิทธิพล สุยะลา นายอำเภอกันทรารมย์ ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ และ อบต.ดูน เจ้าของพื้นที่จัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดหญิงขึ้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นการเปิดตัวหาดนางเหงา…

Read More

ยินดีกับข้าราชการพลเรือนดีเด่นระดับประเทศ นอภ.สุวรรณ เนตรเนติกุล

เมื่อวันที่ 31  มีนาคม 2567 ที่ อาคารเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริสมบัติครบ 60 ปี  อำเภอเมืองศรีสะเกษ  จังหวัดศรีสะเกษ นายสุวรรณ เนตรเนติกุล  นายอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ  เข้าร่วมพิธีรับมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2566 เพื่อเป็นการยกย่องและเผยแพร่เกียรติคุณ ข้าราชการพลเรือนดีเด่นของจังหวัดศรีสะเกษ ต่อเนื่องจากพิธีถวายราชสักการะเนื่องใน “วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” ซึ่งในวันข้าราชการพลเรือนเป็นวันที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงาน หน่วยงานองค์กรของรัฐไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างประจำ เพราะการได้ปฏิบัติงานในองค์กรของรัฐนั้น เป็นการปฏิบัติงานในฐานะข้าราชการ คือเป็นผู้ปฏิบัติราชการให้กับประชาชนและประเทศชาติ ด้วยการทำหน้าที่ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับประชาชนและเป็นเสาหลักในการพัฒนาประเทศ ข้าราชการจึงเป็นผู้มีเกียรติและมีศักดิ์ศรีซึ่งน้อยคนนักที่จะมีโอกาสได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่รับราชการ ความสำเร็จของการเป็นข้าราชการที่ดีนั้น มิได้มีเพียงแต่เกียรติและศักดิ์ศรีที่ได้เข้ามารับราชการในหน่วยงานของรัฐเท่านั้นหากแต่เป็นผู้ที่เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของข้าราชการในการเป็นผู้ให้บริการของรัฐไปสู่ประชาชน เป็นผู้ที่ทำงานอย่างผู้เสียสละและอุทิศตนเพื่อประเทศชาติ         โดยมีนายอนุพงศ์  สุขสมนิตย์   ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  เป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2566        และมี นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ , นางเพชรลดา  เนตรเนติกุล  ประธานชมรมแม่บ้านมหาดไทยอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ , หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดศรีเกษ…

Read More
error: Content is protected !!