รับจ้างมัดหอมแดง รายได้งาม

กลุ่มคุณยาย รับจ้างตัดแต่งหัวหอมแดง ของชาวอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ที่เป็นแหล่งที่ปลูกหอมแดงมากที่สุด สร้างรายได้ให้กับจังหวัดศรีสะเกษ ปีหนึ่งกว่า 1 พันล้านบาท กับคุณภาพ แห้ง – แดง – มัน – คอเล็ก   วันที่ 18 มีนาคม 2567 ที่ หมู่บ้านยางชุมน้อย อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งถือเป็นแหล่งที่ปลูกหอมแดงมากที่สุดของจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมกับพื้นที่ของอำเภอราษีไศล และอำเภอวังหิน ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในปีหนึ่งๆ มากกว่า 1,000 ล้านบาท กับคุณภาพของหอมแดงจังหวัดศรีสะเกษ ที่ขึ้นชื่อมาโดยตลอด กับคำกล่าวขวัญที่ว่า หอมแดงจังหวัดศรีสะเกษ แห้ง – แดง – มัน – คอเล็ก นั้นหมายถึง แห้ง คือหอมแดงศรีสะเกษ จะเก็บเมื่อแก่ ก่อนมาตากไว้บนราวตาก ในโรงเรือนที่สร้างขึ้นเองของเกษตรกร ทำให้หัวหอมแดงศรีสะเกษแห้งพอดี สามารถเก็บรักษาไว้ทานได้นาน ส่วนคำว่า แดง นั้นหมายถึง…

Read More

อาหารจากดอกจาน สู่เมนูประจำถิ่น

เทศบาลตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 38 ศรีสะเกษ อบรมการทำอาหารจากดอกจาน ที่สวยงามสู่อาหารจานโปรด วันที่ 16 มีนาคม 2567 ที่ เทศบาลตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ นายนิรุตย์ เกษกุล นายกเทศบาลตำบลโคกจาน ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 38 ศรีสะเกษ จัดฝึกอบรมการทำเมนูอาหารจากดอกจาน ซึ่งเป็นพืชพื้นถิ่นตำบลโคกจาน จากที่มีต้นจานขึ้นในบริเวณแถบนี้เป็นจำนวนมาก กับพื้นที่ที่เป็นเนินสูง ด้านข้างมีแม่น้ำไหลผ่าน คือลำน้ำห้วยวะ คนสมัยก่อนจึงได้ตั้งทำเลแถบนี้ก่อนมีการตั้งบ้านเรือน ว่า “โคกจาน” ในช่วงหน้าแล้ง ราวเดือนมีนาคม – เมษายน ของทุกปี ต้นจานจะออกดอกบานสะพรั่ง สีแดงแสด กลับดอกคล้ายดอกแค เดิมไม่มีใครสนใจที่จะนำมาทำอาหาร ปล่อยให้ร่วงหล่นไปเต็มพื้น หรือจะนำมาแค่มาประดับเพิ่มความสวยงามแก่สาวๆ ที่จะแต่งชุดรำไปรำตามงานต่างๆ ด้วยการนำมาเสียบใส่ผม หรือทัดหู เท่านั้น ซึ่งแท้จริงแล้ว ดอกจาน สามารถทานได้ทั้งทานสด และนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นดอกจานชุปแป้งทอด,…

Read More

งาน “เทศกาลกินตาล ถนนอาหารปลอดภัย” อนุรักษ์ต้นตาลดาบวิชัย

เทศบาลตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เปิดงาน “เทศกาลกินตาล ถนนอาหารปลอดภัย” ครั้งที่ 1 เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ดูแลต้นตาลให้คงอยู่คู่กับบ้านเมือง โดยเฉพาะต้นตาลที่พ่อดาบวิชัย ปลูกไว้ วันที่ 16 มีนาคม 2567 ถนนต้นตาลดาบวิชัย สายอุทุมพรพิสัย – ปรางค์กู่ ที่ เทศบาลตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดงาน “เทศกาลกินตาล ถนนอาหารปลอดภัย” ครั้งที่ 1 จัดขึ้นโดย นายนิรุตย์ เกษกุล นายกเทศบาลตำบลโคกจาน ร่วมกับพนักงาน – เจ้าหน้าที่ กำนัน – ผู้ใหญ่บ้าน พี่น้องประชาชน กลุ่มอาชีพในเขตตำบลโคกจาน โดยในงานก็ได้มีการแสดงสินค้า โอทอปต่างๆ มากมาย เน้นในการนำวัตถุดิบจากต้นตาลมาจำหน่าย ทั้งแปรรูปแล้ว และเป็นผลผลิตสดจากต้นตาล ทั้งพัดที่ทำจากใบตาล ลูกตาลสด เสื้อผ้าย้อมสีจากกาบตาล ไม้เกาหลังจากต้นตาล อื่นๆ โดยครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ต้นตาลที่พ่อดาบวิชัย สุริยุทธ หรือ…

Read More

กลุ่มแม่บ้านตำบลโคกจาน รวมตัวทำพัดใบตาล จากต้นตาลดาบวิชัย

กลุ่มแม่บ้านในตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ รวมตัวกัน จ้างวิทยากรชาวบ้านเช่นกัน มาสอนทำพัดจากใบตาล โดยใบตาลจากต้นตาลที่พ่อดาบวิชัย ปลูกไว้ เมื่อ 50 ปีที่แล้ว นำมาสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ วันที่ 15 มีนาคม 2567 ที่ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เทศบาลตำบลโคกจาน ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ และกลุ่มแม่บ้านในเขตตำบลโคกจาน ได้รวมตัวเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ โดยหาอาชีพที่สนองความต้องการของตลาด ของผู้ซื้อ โดยพบว่า ขณะนี้ประเทศไทย และประเทศอื่นๆ มีอุณภูมิความร้อนพุ่งขึ้นสูง ส่วนการคลายร้อนก็สามารถทำได้หลากอย่าง และอีก 1 อย่างที่น่าจะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ นั้นก็คือ พัด ที่สามารถพกพาไปยังที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวก ขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป สามารถพับเก็บได้ ใส่กระเป๋าของคุณผู้หญิงได้ และหากทำมาจากวัสดุจากธรรมชาติ แฮนด์เมดก็ยิ่งจะเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอันมาก ซึ่งที่ถนนต้นตาลดาบวิชัย ที่พ่อดาบวิชัยปลูกเอาไว้ 2 ทางทาง ถนนสายอุทุมพรพิสัย ไปอำเภอปรางค์กู่ ได้ถูกขนานนามว่าเป็นถนนต้นตาลดาบวิชัย เพราะดาบวิชัยปลูกต้นตาลไว้ 2…

Read More

เปลี่ยนผ้าไตรจีวรพระพุทธละทายชัยมงคล รำถวายหลวงปู่เพ็ง วัดโพธิ์ศรีละทาย

ลูกหลานชาวบ้านละทาย ลูกหลานหลวงปู่เพ็ง แห่กราบไหว้ขอขมา เปลี่ยนผ้าไตร รำถวายหลวงปู่เพ็ง วัดละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เกจิที่ได้รับการยอมรับในความศรัทธา ที่หลวงปู่มีเมตตา มหานิยม มาตลอด วันที่ 11 มีนาคม 2567 ที่ วัดโพธิ์ศรีละทาย บ้านละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ วันนี้ถือเป็นวันดี วันศรีมงคล ลูกหลานชาวบ้านละทาย ชาวอำเภอกันทรารมย์ รวมทั้งลูกศิษย์ ได้เดินทางมาร่วมงานบุญ ในวันครบรอบไหว้ขอขมาหลวงปู่เพ็ง จันทรังสี หรือ “พระครูโสภณจันทรังสี” อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี ที่ละสังขารไปนานแล้ว แต่ลูกศิษย์ยังเก็บสรีระสังขารหลวงปู่ไว้เพื่อกราบไหว้บูชา วันนี้จึงมีลูกศิษย์เดินทางมาร่วมพิธีเปลี่ยนผ้าไตร มาไหว้ขอขมา ขอพรจากหลวงปู่กันเป็นจำนวนมาก ขณะเดี๋ยวกันก็ได้มีบรรดาสาวงามประจำหมู่บ้าน ประจำตำบลละทาย แต่งกายด้วยชุดชนเผ่าลาวละทาย พร้อมใจกันมาร่ายรำถวายหลวงปู่ และได้มีนักท่องเที่ยว ญาติมิตร มาให้กำลังใจอยู่หน้าลานกว้าง หน้าองค์พระใหญ่ “หลวงพ่อพระพุทธละทายชัยมงคล” ที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนละทายมาโดยตลอดด้วย ซึ่งในวันนี้ได้มี นายชัยยงศ์ เมธาสุรวิทย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และนายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรศรีสะเกษ พรรคเพื่อไทย…

Read More

เปลี่ยนผ้าไตรหลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน โรงทานแน่น

โรงทานหอยทอดจากเยาวราช จากบางประกง ก๋วยเตี๋ยวเรือ มาจากทั่วประเทศ แห่มาตั้งกระทะประกอบอาหารแจกฟรี นับเป็นร้อยร้าน ในงานบุญเปลี่ยนผ้าไตรหลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ วันที่ 12 มีนาคม 2567 ที่ ลานกว้างทิศตะวันออกวัดบ้านจาน ตำบลจาน อำเภอกันมทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีโรงทานจากทั่วประเทศ อธิ หอยทอดที่อร่อยมากจากบางประกง ก๋วยเตี๋ยวเรือจากเยาวราช ลูกชิ้นปลาแฟชั่นจากเยาวราช อื่นๆ มากกว่า 100 ร้านค้า ที่เป็นลูกศิษย์หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล จากทั่วประเทศ ได้เดินทางมาตั้งโรงทาน ประกอบอาหารเพื่อแจกจ่ายฟรี แก่ผู้ที่มาร่วมงานบุญ “เปลี่ยนผ้าไตรหลวงปู่หมุน” ประจำปี 2567 ด้วยความศรัทธาต่อหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล สิริอายุปีนี้ 130 ปีเต็ม เกจิอาจารย์ 5 แผ่นดิน ที่มีเมตตาสูง บรรดาลูกศิษย์ที่มากราบไหว้ขอพรจะได้สมดั่งใจนึกทุกประการ โดยเฉพาะในเรื่องเมตตามาหนิยม ค้าขายร่ำรวย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีคนจีน ในแถวเยาวราชที่ทำการค้าขาย ได้มากราบไหว้ขอพร เมื่อไปดำเนินธุรกิจ ปรากฏว่าค้าขายร่ำรวยไปตามๆ กัน…

Read More

การแข่งขันวงสไนประยุกต์ งานมหกรรม “ของดีบ้านฉัน”

วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ และสภาวัฒนธรรมจังหวัด ร่วมสืบสานงานด้านวัฒนธรรม “ของดีบ้านฉัน” นำศิลปะ – วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต อาหารพื้นบ้านมาแสดง จำหน่าย วันนี้เป็นการแข่งขันวงสไนประยุกต์ วันที่ 10 มีนาคม 2567 ที่ ลานลงข่วง ภายในสวมสมเด็จพระศรีนครินทร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีการจัดงาน เทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 6 – 10 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นงานประจำปีของจังหวัด เพราะดอกลำดวน ถือเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ และในสวมสมเด็จฯ แห่งนี้ เป็นสวนสมเด็จแห่งแรกของไทย มีต้นดอกลำดวนที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ นับตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจในอดีตกาลพันกว่าปีมาแล้ว ต้นดอกลำดวนมีมากกว่า 5 หมื่นต้น ในช่วงเดือนมีนาคม ของทุกปี ต้นลำดวนจะออกดอกบานสะพรั่ง ส่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่วทั้งจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ โดย นายประหยัด ถิลา วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับ สภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ โดย นายวิทยา วิรารัตน์…

Read More

แข่งขันหมอลำกลอน หมอแคน มหกรรมรากวัฒนธรรม “ของดีบ้านฉัน”

วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ และสภาวัฒนธรรมจังหวัด ร่วมสืบสานงานด้านวัฒนธรรม “ของดีบ้านฉัน” นำศิลปะ – วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต อาหารพื้นบ้านมาแสดง จำหน่าย วันนี้เป็นการแข่งขันหมอลำกลอน วันที่ 9 มีนาคม 2567 ที่ ลานลงข่วง ภายในสวมสมเด็จพระศรีนครินทร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีการจัดงาน เทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 6 – 10 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นงานประจำปีของจังหวัด เพราะดอกลำดวน ถือเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ และในสวมสมเด็จฯ แห่งนี้ เป็นสวนสมเด็จแห่งแรกของไทย มีต้นดอกลำดวนที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ นับตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจในอดีตกาลพันกว่าปีมาแล้ว ต้นดอกลำดวนมีมากกว่า 5 หมื่นต้น ในช่วงเดือนมีนาคม ของทุกปี ต้นลำดวนจะออกดอกบานสะพรั่ง ส่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่วทั้งจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ โดย นายประหยัด ถิลา วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับ สภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ โดย นายวิทยา วิรารัตน์…

Read More

รากวัฒนธรรม “ของดีบ้านฉัน” แข่งขันร้อยมาลัยกร

วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ และสภาวัฒนธรรมจังหวัด ร่วมสืบสานงานด้านวัฒนธรรม “ของดีบ้านฉัน” นำศิลปะ – วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต อาหารพื้นบ้านมาแสดง จำหน่าย วันนี้เป็นการแข่งขันร้อยมาลัยกรดอกไม้ วันที่ 8 มีนาคม 2567 ที่ ลานลงข่วง ภายในสวมสมเด็จพระศรีนครินทร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีการจัดงาน เทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 6 – 10 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นงานประจำปีของจังหวัด เพราะดอกลำดวน ถือเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ และในสวมสมเด็จฯ แห่งนี้ เป็นสวนสมเด็จแห่งแรกของไทย มีต้นดอกลำดวนที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ นับตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจในอดีตกาลพันกว่าปีมาแล้ว ต้นดอกลำดวนมีมากกว่า 5 หมื่นต้น ในช่วงเดือนมีนาคม ของทุกปี ต้นลำดวนจะออกดอกบานสะพรั่ง ส่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่วทั้งจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ โดย นายประหยัด ถิลา วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับ สภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ โดย นายวิทยา วิรารัตน์…

Read More

ประกวดพานบายศรี สืบสานวัฒนธรรม “ของดีบ้านฉัน”

วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ และสภาวัฒนธรรมจังหวัด ร่วมสืบสานงานด้านวัฒนธรรม “ของดีบ้านฉัน” นำศิลปะ – วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต อาหารพื้นบ้านมาแสดง จำหน่าย วันนี้เป็นการประกวดพานบายศรี วันที่ 7 มีนาคม 2567 ที่ ลานลงข่วง ภายในสวมสมเด็จพระศรีนครินทร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีการจัดงาน เทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 6 – 10 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นงานประจำปีของจังหวัด เพราะดอกลำดวน ถือเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ และในสวมสมเด็จฯ แห่งนี้ เป็นสวนสมเด็จแห่งแรกของไทย มีต้นดอกลำดวนที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ นับตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจในอดีตกาลพันกว่าปีมาแล้ว ต้นดอกลำดวนมีมากกว่า 5 หมื่นต้น ในช่วงเดือนมีนาคม ของทุกปี ต้นลำดวนจะออกดอกบานสะพรั่ง ส่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่วทั้งจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ โดย นายประหยัด ถิลา วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับ สภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ โดย นายวิทยา วิรารัตน์…

Read More
error: Content is protected !!