แข่งคั้นส้มผักหรรษา ยางชุมน้อยดินแดนปลูกหอมแดง

อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ดินแดนแหล่งปลูกหอมแดง คุณภาพมากที่สุด จัดกิจกรรม แข่งคั้นส้มผักหรรษา ที่มีหัวหอมแดงเป็นวัตถุดิบหลัก ในการแข่งขัน ที่เน้น อร่อย สะอาด สนุก เฮฮา โดยเฉพาะหางเครื่อง วันที่ 17 มกราคม 2568 เมื่อคืนที่ผ่านมา บนเวทีจัดงาน บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ นายวิทยา ไชยเดชกำจร นายอำเภอยางชุมน้อย เป็นประธานในการเปิดการจัดกิจกรรม “แข่งขันคั้นส้มผักหรรษา” ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกใน ภายในงาน “เทศกาลหอมแดง กระเทียมดี ที่ อำเภอยางชุมน้อย” ระหว่างวันที่ 16 มกราคม – 20 มกราคม 2568 เพื่อส่งเสริมการปลูกผลิตหอมแดง พืชเศรษฐกิจของอำเภอยางชุมน้อย ที่มีคุณภาพ เปิดโอกาสให้พ่อค้า – แม่ค้า มาพบปะกับเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง ส่งเสริมการท่องเที่ยว ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็น ซึ่งที่อำเภอยางชุมน้อย ถือว่าเป็นแหล่งปลูก – ผลิตหอมแดงมากที่สุดของจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับอำเภอราษีไศล และอำเภอวังหิน…

Read More

อ.ไพรบึง จัดกิจกรรม วันดินโลก (World Soil Day)

วันที่ 19 ธันวาคม 2567 นายฉลาด ชิดชม นายอำเภอไพรบึง ประธานในกิจกรรม วันดินโลก (World Soil Day) ปี 2567 ภายใต้หัวข้อ “Caring for soils: measure, monitor, manage ใส่ใจมาตรฐาน ตรวจวัดจัดการ ดินดียั่งยืน” ด้วยองค์การสหประชาชาติ มีมติเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2556 ประกาศรับรองให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นวันดินโลก (World Soil Day) เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์ถึงวิสัยทัศน์และพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรดินอย่างยั่งยืงยืน ซึ่ง งานวันดินโลกปี 2567 กำหนดหัวข้อหลักการจัดงาน “Caring for soils: measure, monitor, manage ใส่ใจมาตรฐาน ตรวจวัดจัดการ ดินดียั่งยืน” เน้นความสำคัญของเรื่องการดูแลรักษาและปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์…

Read More

สืบสานประเพณี “โฮมบุญ กินข้าวใหม่ ปลา มัน”

ชาวบ้านหัวนา ของชุมชนเผ่าลาว ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ สืบสานประเพณี “โฮมบุญ กินข้าวใหม่ ปลา มัน” ร่วมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม – ประเพณี จากชุมชน อำเภออื่น ที่เป็นชุมชน 4 เผ่าไท วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ที่ วัดจำปา บ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ชาวบ้านที่สืบเชื้อสายมาจากฝั่ง สาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้เดินทางมาทางเรือ ตามลำน้ำมูลชี ได้มาขึ้นฝั่งตั้งรกรากบริเวณแถบนี้ และถือว่าชุมชนของตนเป็นคนเผ่าลาว หลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวใหม่เสร็จแล้ว ก็จะมาร่วมกันสืบสานประเพณี “โฮมบุญ กินข้าวใหม่ ปลา มัน” พร้อมไหว้ขอพร บูชา พระธาตุกตัญญู ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2505 เพื่อเป็นอนุสรสถานให้ระลึกนึกถึง บรรพบุรุษ ที่ได้พาอบยพมาอยู่ในริมฝั่งแม่น้ำมูลชีแห่งนี้ จนเกิดความอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมูลชีมีมากปลาหลากหลาย ในนามีข้าวที่อุดมสมบูรณ์ ที่ผ่านมาไม่เคยประสบภัยพิบัติใดใด การสืบสานประเพณี โฮมบุญ กินข้าวใหม่…

Read More
error: Content is protected !!