ของดีบ้านฉัน รากวัฒนธรรม 4 ชนเผ่า

วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ และสภาวัฒนธรรมจังหวัด ร่วมสืบสานงานด้านวัฒนธรรม “ของดีบ้านฉัน” นำศิลปะ – วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต อาหารพื้นบ้านมาแสดง จำหน่าย ภายในงานเทศกาลดอกลำดวนบาน วันที่ 6 มีนาคม 2567 ที่ ลานลงข่วง ภายในสวมสมเด็จพระศรีนครินทร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีการจัดงาน เทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 6 – 10 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นงานประจำปีของจังหวัด เพราะดอกลำดวน ถือเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ และในสวมสมเด็จฯ แห่งนี้ เป็นสวนสมเด็จแห่งแรกของไทย มีต้นดอกลำดวนที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ นับตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจในอดีตกาลพันกว่าปีมาแล้ว ต้นดอกลำดวนมีมากกว่า 5 หมื่นต้น ในช่วงเดือนมีนาคม ของทุกปี ต้นลำดวนจะออกดอกบานสะพรั่ง ส่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่วทั้งจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับ สภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดกิจกรรมรากวัฒนธรรม ณ ลานลงข่วง “ของดีบ้านฉัน” เป็นการนำเอาการแสดงศิลปะ วัฒนธรรม ของ…

Read More

ชนเผ่ากูยสืบสานประเพณี “หวัวบุญเบิกฟ้า” รำลึกบรรพบุรุษ

หวัวบุญเบิกฟ้า ไหว้บูชา ขอขมา บรรพบุรุษ ที่สิงสถิต ณ ปราสาทปรางค์กู่ อายุนับพันปี สืบเชื้อสายประเพณีของชนเผ่ากูยโบราณ ของชาวอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ที่จะทำในช่วงบุญเดือน 3 ส่งเสริมการท่องเที่ยว วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 ณ อุทยานดงกูย บ้านกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่เช้าของวันนี้ได้มีพี่น้องประชาชน ชาวบ้าน ผู้นำท้องถิ่น ต่างแต่งตัวด้วยชุดชนเผ่ากูย เสื้อผ้าไหมสีดำแขนยาว สวมผ้าถุง หรือผู้ชายก็จะสวมโสร่ง พร้อมมีผ้าขาวม้าไหมพันคอ 1 รอบ พาดไว้ที่บ่า โดยทุกคนก็จะเลือกผ้าไหมที่สวยที่สุดที่มีอยู่ในครอบครัว นำออกมาโชว์อวดแข่งขันกัน พร้อมหาบ แบก นำเครื่องเซ่นไหว้ ทั้งผลไม้มงคลนานาชนิด เหล้าสาโทพื้นบ้านของดีประจำของชนเผ่า หัวหมู เป็ด – ไก่นึ่ง ข้าวต้มกูย อื่นๆ ที่เป็นมงคล อันจะสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับครอบครัวตน นำมาเข้าขบวนแห่ไปยังปราสาทปรางค์กู่ ที่มีอยู่ 3 ปรางค์ เชื่อกันว่าสร้างตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ ฝีมือของบรรพบุรุษ…

Read More

ประกวด “นางฟ้าจำแลง” สวยแน่นเวที ตัดสินกันแบบข้ามคืน

มหกรรมอาหารปลอดภัย และโภชนาการเพื่อสุขภาพ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ คึกคัก เพราะมี LGBTQ สมัครเข้าร่วมประกวด “นางฟ้าจำแลง” สวยแน่นเวที ตัดสินกันแบบข้ามคืน โดยเฉพาะสวยฉลาดแบบโจ๊กเกอร์ วันที่ 14 ธันวาคม 2567 ที่ ลานกีฬาหน้าที่ว่าการอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ จากเวลาหัวค่ำของเมื่อคืนนี้ จนข้ามมาอีกวันหนึ่ง ภายในงานมหกรรมอาหารปลอดภัย อร่อยได้ ไร้แอลกอฮอล์และปลอดโฟม ของเทศบาลตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ที่มุ่งเน้นในการสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้น ต่อการบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยการจัดงานในปีนี้ นับเป็นปีที่ 20 แล้ว ด้วยความร่วมมือของ สสส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คืนนี้เป็นการแสดงการเดินแบบผ้าไหมของหัวหน้านราชการในเขตอำเภออุทุมพรพิสัย นายพศิน ทาศิริ นายอำเภออุทุมพรพิสัย, นายสมพงษ์ จิริวิภากร นายกเทศมนตรีตำบลกำแพง, นายปิติ เทพเกษตรกุล รองนายกฯ หัวหน้าส่วนราชการ ท้องถิ่นอำเภอ ผู้นำชุมชน – หมู่บ้าน…

Read More

สนุกสุดมันส์ ! กีฬาสัมพันธ์สหกรณ์ศรีสะเกษ

สหกรณ์การเกษตรห้วยทับทัน จำกัด เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน “กีฬาประเพณีชาวสหกรณ์ ครั้งที่ 28” เพื่อความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับงานสหกรณ์ในจังหวัดศรีสะเกษ และธนาคาร ธกส. วันที่ 16 ธันวาคม 2566 ที่ สนามฟุตบอลโรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ นายอุไร เกษเล็ง ประธานคณะกรรมการ สหกรณ์การเกษตรห้วยทับทัน จำกัด ในนามเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาประเพณีชาวสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ 28 พร้อมด้วยคณะกรรมการสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนักกีฬา ได้มารวมตัวเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาประเพณีสหกรณ์ของชาวสหกรณ์ โดยมี นายพศิน ทาศิริ นายอำเภอห้วยทับทัน ได้กล่าวต้อนรับชาวสหกรณ์ทุกอำเภอ ที่เดินทางมาร่วมแข่งขันกีฬากันในวันนี้ โดยมี นายอาสพลธ์ สรรณไตรภพ สส.ศรีสะเกษ เขต 8 พรรคภูมิใจไทย คณะกรรมาธิการงบประมาณ และวิบรัฐบาล เดินทางมาเป็นประธานเปิดการแข่งขันในครั้งนี้ ซึ่งได้มีวงดุริยางค์ของโรงเรียนกันทรารมย์ เป็นผู้นำขบวนนักกีฬาเข้าสู่สนามด้วย…

Read More

ฉลอง 100 ปี วัดนักบุญยอแซฟหนองทามน้อย

วันที่ 16 เมษายน 2567 ที่ วัดนักบุญยอแซฟหนองทามน้อย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ตลอดทั้งวันนี้ได้มีพิธีฉลองครบ 100 ปี ชาวบ้านแต่งกายสวยงาม กว่า 100 ชีวิต ได้ออกมาร่ายรำเพื่อฉลองครบ 100 ปี ที่ได้พากันมาก่อตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านหนองทามน้อยแห่งนี้ จากเดิมเมื่อปี พ.ศ.2467 ได้มีชาวบ้าน 3 ครอบครัว ได้อพยพหนีความวุ่นวาย มาจากบ้านลิ้นฟ้า – บ้านเตาเหล็ก ข้ามแม่น้ำมูลมาหาที่อยู่ที่ทำมาหากิน ทางทิศใต้ของอำเภอกันทรารมย์ เรียกว่า บ้านส้มโฮง ใกล้กับลำห้วยสะบ้า หรือลำห้วยบักบ้า ในปัจจุบันได้เรียนคำสอน รับความเชื่อในพระเจ้า ก่อนที่คุณพ่อบาทหลวงจะได้ตั้งโรงสวดขึ้นที่บ้านส้มโฮง แต่ต่อมาเกิดโรคระบาด ชาวบ้านเชื่อว่ามีผีร้าย จึงได้หารือกับบาทหลวง และพากันอพยพห่างลงมาอีก ประมาณ 2 กิโลเมตร ใกล้หนองน้ำขนาดใหญ่ เลือกเป็นทำเลที่ตั้งบ้านใหม่ เรียก บ้านหนองทามน้อย มีชาวบ้านเริ่มต้นราว 5 – 10 ครัวเรือน จนขณะนี้มี 2 หมู่บ้าน…

Read More

แรงงานไทยที่ไปทำงานอิสราเอล บวชแก้บนด้วยดาบ 9 เล่ม ง้าว 3 เล่ม

แรงงานไทยในศรีสะเกษ หนีตายมาได้จากอิสราเอล วันนี้ขอบวชเพื่อแก้บน โดยนำมีดดาบโบราณ 9 เล่ม พร้อมกับง้าวโบราณ มาใช้ในการปลงผม เพื่อสืบต่อประเพณีแบบโบราณ สมัยพระพุทธเจ้าก็ใช้ดาบในการปลงผม วันที่ 4 มกราคม 2567 ที่ บ้านเลขที่ 20 บ้านหนองคู ตำบลโพนยาง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นบ้านของ นายนาดิน จันทร์สมุทร อายุ 27 ปี ผู้ที่รอดตายมาจากการไปทำงานภาคเกษตรที่อิสราเอล หลังจากเกิดสงครามขึ้น จนไม่สามารถทำงานต่อได้ เพราะการยิงสู้รบกันรุนแรงมากกว่าทุกครั้ง จึงได้ตัดสินใจนำเงินเก็บออกมาซื้อตั๋วเครื่องบิน เพื่อบินกลับประเทศไทย โดยไม่ขอรอความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย เพราะหวั่นจะเป็นอันตรายต่อแคมป์ และบรรดาคนงาน รวมทั้งตน จึงได้บนบานศาลกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หากรอดมาได้ จะขอบวช 9 วันเป็นอย่างน้อยที่ประเทศไทย ที่บ้านเกิดของตน และวันนี้หลังจากกลับมาอยู่บ้าน เคลียร์ปัญหางานการต่างๆ แล้ว ก็เลยจะขอบวชแก้บนตามที่ตนได้กล่าวไว้   ซึ่งในการบวชได้เชิญเฉพาะญาติพี่น้อง ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ลุง น้า ที่สนิทๆ…

Read More

สืบสานตำนานพันปี ประเพณีไหว้ปราสาทบ้านปราสาท

ชนเผ่าลาว และเผ่ากูย จากอำเภอห้วยทับทัน และอำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ เดินทางมาร่วม “สืบสานตำนานพันปี ประเพณีไหว้ปราสาทบ้านปราสาท” ด้วยการหาบข้าวจี่ เครื่องเซ่นไหว้ ที่ปราศจากเนื้อสัตว์มาไหว้ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ ปราสาทวัดบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ลูกหลานชนเผ่าลาว และเผ่ากูย จากอำเภอห้วยทับทัน และอำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกันแต่งกายด้วยชุดชนเผ่ากูย มาร่วมสืบสานวัฒนธรรมอันดี ในการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ด้วยยกพานบายศรีใบตอง ด้วยการหาบข้าวจี่ มาร่วม “สืบสานตำนานพันปี ประเพณีไหว้ปราสาทบ้านปราสาท” ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท นำโดย นายชยามร บุญเต็ม นายก อบต.ปราสาท พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ผู้นำหมู่บ้านชุมชน กำนัน – ผู้ใหญ่บ้าน พี่น้องประชาชนกว่า 500 คน ได้จัดเตรียมข้าวจี่จากทุกครอบครัว ข้าวต้มผลไม้ โดยปราศจากเนื้อสัตว์ทุกชนิด ดอกไม้ ธูปเทียน นำมาใส่ลงในไปในตะกร้า ก่อนหาบมาเดิน ฟ้อนรำ รอบองค์ปราสาทบ้านปราสาท…

Read More

HBD น้องหอมแดง ลูกฮิปโปศรีสะเกษ อายุครอบ 3 เดือน

ฮีโร่ เดดพลู – สไปเดอร์แมน และหมอลำกลอนเสียงดี แต่งกลอนลำ มาร่วมลำอวยพร แฮปปี้เบิร์ดเดย์ ให้กับน้องหอมแดง ลูกฮิปโปโปเตมัสเกิดใหม่ ครบ 3 เดือน มอบแก้วหอมแดง รักษาความเย็นให้แฟนเพจ แฟนคลับ บ่ายของวันที่ 13 มกราคม 2568 เวลา 13.30 น.ที่ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าจังหวัดศรีสะเกษ สวนสัตว์ศรีสะเกษ ภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ นางสาว ชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ, มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ คณะกรรมการพัฒนาสวนสมเด็จ – สวนสัตว์ศรีสะเกษ นักเรียนนักศึกษา นักท่องเที่ยว น้องๆ นักเรียนจากโรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ รวมกันจัดกิจกรรม ครบรอบวันเกิดน้องหอมแดง ลูกฮิปโปโปเตมัสเกิดใหม่ อายุครบ 3 เดือน 13 มกราคม 2568 ซึ่งน้องหอมแดง เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2567 ลูกคุณแม่เกศริน โดยได้รับกระแสความนิยมต่อเนื่อง…

Read More

ขบวนฟ้อนรำ ออนซอนประเพณีบุญบั้งไฟ อำเภอราษีไศล

อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ตำนานประเพณี 143 ปี บวงสรวง บูชา พญาแถน ฟ้อนรำ ถวายเทวา อารักษ์ เพื่อขอฝนตกต้องตามฤดูกาล สืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ 16 ตำบล จัดขบวนประกวดแข่งขัน เยาวชนร่วมรังสรรค์ วันที่ 1 มิถุนายน 2567 ที่ หน้าที่ว่าการอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ขบวนฟ้อนรำ สืบสานประเพณี บุญบั้งไฟแสนราษีไศล จาก 16 ตำบล ร่วมรังสรรค์ จัดขบวนตกแต่ง บั้งไฟแสน พร้อมการออกแบบขบวนฟ้อนรำ นำเสนอสู่สายตาของนักท่องเที่ยว ที่ 1 ปี มี 1 ครั้ง จากตำนานของชาวราษีไศล 143 ปี ที่ร่วมกันสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟมา นับตั้งแต่การเริ่มผลิตบั้งไฟจากไม้ไผ่ มาสู่บั้งไฟท่อเหล็ก ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนมาเป็นท่อ พีวีซี ที่สามารถให้เกิดการเผาไหม้ ในอากาศ ให้ไปพร้อมกับดินประสิว และเหลือเพียงหางบั้งไฟที่เป็นไม้ไผ่ ลอยล่องอยู่บนท้องฟ้าได้ระยะเวลาที่ยาวนาน ก่อนตกลงสู่พื้นดิน…

Read More

ศรีสะเกษ ตรวจสอบสายการผลิตฟาร์มธารทองสู่มาตรฐาน GMP

ในช่วงเช้าของวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2567 กระทรวงสาธารณะสุขจังหวัดศรีสะเกษ นำโดย ภก.วีระชัย นวลชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและได้เดินทางมาลงพื้นที่ตรวจโรงงาน ฟาร์มธารทอง (2543) ซึ่งได้ทราบจากทางสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ว่าเป็นโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ จากข้อมูลแล้วขอชื่นชมทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ว่าปฏิบัติงานได้เป็นไปตามแนวทาง ของคณะกรรมการอาหารและยา ได้ให้แนวทางปฏิบัติไว้ในส่วนกลางและ และส่วนภูมิภาคให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีการตรวจสถานที่ตรวจเอกสาร และอนุญาตโดยเร็ว ตอบรับนโยบาย อย.อนุญาต สะดวก รวดเร็ว ผู้บริโภคปลอดภัย ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่บริษัทฟาร์มธาร ขอไปมีทั้งสิ้น 4 รายการ คือลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นเอ็นหมู แหนมกระดูกหมู และไส้กรอกอีสาน โดยใช้เวลาดำเนินการเพียงวันเดียว ได้ดำเนินการยื่นเรื่องขอผ่านทางแอพพลิเคชั่น LINE ในวันเสาร์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ ก็ได้รับการอนุมัติอนุญาตภายในวันเสาร์เลย ซึ่งทางสำนักงานได้มีการอนุมัติ ทั้งตรวจสอบพื้นที่การผลิต และคุณภาพ รวมถึงความสะอาดของสายการผลิต โดยเจ้าหน้าที่ไม่ต้องลงมา พื้นที่เอง แต่ว่าได้คุณภาพ ในการตรวจเหมือนเดิม และก็ยังมีแอพพลิเคชั่นในเรื่องของอีซับมิชชั่นซึ่งจะเข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ โดยใช้คำว่า “ทุกวันทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดก็สามารถยื่นขอเลขสำหรับผู้ประกอบอาหารได้” อันนี้ก็เป็นแนวทางการทำงาน ของทางคณะกรรมการอาหารและยา และทางสำนักงานจังหวัดศรีสะเกษก็ อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากๆ…

Read More
error: Content is protected !!