เปิดวงโสเหล่ทิศทางการศึกษา ครูไทยต้องอยู่

เครือข่ายชุมชนคนศรีสะเกษ อดีตครู และผู้บริหารสถานศึกษา เปิดวงโสเหล่ เรื่อง ทิศทางการศึกษาของจังหวัดศรีสะเกษ ครูไทยต้องอยู่ คู่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หลังถูกด้อยค่า บ่ายของวันที่ 29 มกราคม 2568 ที่ โรงแรมศรีลำดวนเพรส อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ รศ.ดร.เอมอร แสนภูวา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ, นายวิสัย เขตสกุล เลขาธิการสมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย, นาย อมรโชคศิริ อมตะสายแก้ว ผู้อำนวยการเชียวชาญ โรงเรียนบ้านละเอาะ สพป.ศก1, นายพยับ เติมใจ ประธาน อสม.อำเภอโนนคูณ และประธาน อสม.แห่งประเทศไทย โดยมี นายทิวา รุ้งแก้ว อดีค ผอ.โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ ในนามประธานชมรมหมู่บ้านศีล5, ประธานชมรมพุทธสมาคม, ประธานชมรมคนรักในหลวงจังหวัดศรีสะเกษ และรองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการครู ลูกจ้างสถานศึกษา เข้าร่วมเปิดวงเสวนา ในนาม เครือข่ายชุมชนคนศรีสะเกษ อดีตครู และผู้บริหารสถานศึกษา เปิดวง โสเหล่…

Read More

สืบรากวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล กู่แก้วสี่ทิศ สู่กำไรรวงข้าว

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ร่วมกับ หน่วยบริหารจัดการทุน และจังหวัดศรีสะเกษ ตรวจติดตามการจัดทำโครงการ “ยกระดับคุณค่าและมูลค่าวัฒนธรรมข้าวลุ่มน้ำมูล พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” เชื่อมโยง 4 จังหวัดอีสานล่าง วันที่ 10 พฤศจิกายน 2567 เขื่อนราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นจุดอันสำคัญในการเริ่มต้นของการเล่าเรื่องวัฒนธรรมลุ่มน้ำมูล ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของเศรษฐกิจที่สำคัญของชาวอำเภอราษีไศล ที่เกี่ยวเนื่อง เชื่อมโยงกัน วิถีชีวิตของคนในเขต “ทุ่งกุลาร้องไห้” ที่อยู่ในเขต 4 จังหวัด คือ ศรีสะเกษ, สุรินทร์, ร้อยเอ็ด และยโสธร จากประวัติของการล่องเรือมาของกลุ่มชน ที่นำโดย พระยากตะศิลา ก่อนมาสร้างหมู่บ้าน ตำบล และยกระดับเป็นอำเภอราษีไศล กับวิถีชีวิตของคนพายเรือหาปลา มาสู่การจัดการแข่งขันเรือหาปลา แข่งขันเรือยาว 50 ฝีพาย ที่เป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดอีกแห่งของไทย การเป่าสะไน ถือเป็นการสืบตำนานบรรพบุรุษของคนชาวเรือลุ่มน้ำมูล กับเจ้าพ่อดงภูดิน ที่ถือเป็นพ่อปู่ของชาวราษีไศล มาสู่ยุคปัจจุบัน ที่คนรุ่นใหม่ ต้องการพัฒนา ยกระดับของวิถีชีวิตให้อยู่รอด จากวัฒนธรรมของอดีต สู่การพัฒนายกระดับในปัจจุบันมรดกทางวัฒนธรรม ที่คนรุ่นเก่าสืบต่อไว้ให้ คือ…

Read More

ประชุมพรรครักแผ่นดินแม่ กับ นโยบาย “เราจะสร้างประเทศไทย ให้เป็นเมือง 24 ชั่วโมง ด้านการเกษตร เพื่อการส่งออก”

คณะกรรมการ สมาชิกพรรคการเมือง จากทั่วประเทศ ร่วมประชุมลงมติเลือกคณะกรรมการชุดใหม่ พรรครักแผ่นดินแม่ กับ นโยบาย “เราจะสร้างประเทศไทย ให้เป็นเมือง 24 ชั่วโมง ด้านการเกษตร เพื่อการส่งออก” วันที่ 3 มกราคม 2568 ที่ ห้องประชุมศรีลำดวน โรงแรมพรหมพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ตัวแทนสมาชิกพรรคการเมือง จากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย จากภาคเหนือ, ภาคใต้, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง จำนวนกว่า 300 คน ได้มาร่วมลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1 ประจำปีของพรรค โดยในวันนี้มีวาระที่สำคัญ คือ พรรคจะยังคงอยู่ เพื่อดำเนินการตามอุดมการณ์ทางการเมืองต่อไป หรือจะยุติบทบาททางการเมือง และหากมีมติที่จะเดินหน้าต่อ ก็จะมีวาระตามมา ก็คือ จะมีการเลือกคณะกรรมการชุดใหม่ การรับรองคระกรรมการชุดใหม่ของพรรคฯ เพื่อขึ้นมาบริหารพรรค และผลของการลงคะแนนลงคะแนน มีมติรับรองคณะกรรมการชุดใหม่ โดยได้รับความร่วมมือจาก เจ้าหน้าที่ชำนาญการพิเศษ จากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดศรีสะเกษ ( กกต.) ที่ได้นำอุปกรณ์เครื่องมือการตั้งแบบใหม่ แบบนิจิตอล…

Read More

เทศกาลดอกจานบาน ครั้งที่ 18 ส่งเสริมการท่องเที่ยว

เทศกาลดอกจานบาน ตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ นำมาเพิ่มมูลค่า ด้วยการนำมาย้อมผ้าไหมโคกจาน เป็นที่นิยมของนักช๊อป ผืนละ 15,000.-บาท ผลิตไม่พอขายหลังจัดการ นักท่องเที่ยวแห่ชม แห่สั่ง วันที่ 18 มกราคม 2568 ที่ ลานกีฬาเทศบาลตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ นายนิรุจน์ เกษกุล นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลโคกจาน ร่วมกันกำนัน – ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น จัดงาน เทศกาลดอกจานบาน ครั้งที่ 18 เพื่อเป็นการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจของชุมชน ในด้านอาชีพ การทอผ้าไหม ที่นำดอกจาน มาต้มเอาน้ำไปย้อมผ้าไหม ต้นจาน เป็นพืชยืนต้น ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นพืชประจำถิ่น จากภูมิปัญญาของคนโบราณ ที่พบเห็นว่าในชุมชนแถบนี้ ได้มีต้นจานที่ออกดอกในช่วงหน้าแล้ง ราวเดือนมกราคม – มีนาคม ของทุกปี หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ดอกจะเหมือนคล้ายดอกแค กลีบดอกมีสีแสด สวยงาม มีกลิ่นหอมอ่อนๆ…

Read More

“อีเซรัน ครั้งที่ 1“ วัฒนธรรมแห่งสายน้ำ สานสัมพันธ์ศรีสะเกษ – สุรินทร์

นักวิ่งจากทั่วสารทิศ แห่มาร่วมวิ่ง “อีเซรัน ครั้งที่ 1 “ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลอีเซ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ ที่ร่วมสืบวัฒนธรรมสายน้ำ ลุ่มน้ำลำห้วยทับทัน สานสัมพันธ์ศรีสะเกษ – สุรินทร์ ครั้งที่ 8 เช้ามืดของวันที่ 9 ธันวาคม 2565 ที่ ลานพระใหญ่ บ้านหนองฮู ตำบลอีเซ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังศรีสะเกษ นางนุชนาถ จารุวงษ์เสถียร ผู้แทนราษฎร เขต 9 จังหวัดศรีสะเกษ พรรคเพื่อไทย เดินทางมาเป็นประธานในการเปิดการแข่งขัน “อีเซรัน2023 ครั้งที่1” จัดโดย นายสุวรรณ โสดา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอีเซ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน กำนัน – ผู้ใหญ่บ้าน ทั้งในตำบลอีเซ อำเภอโพธิ์ศรีรสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ และชาวตำบลยางสว่าง อำเภอรัตนบุรี เพื่อเชื่อมโยงระหว่างชาวศรีสะเกษ กับ ชาวจังหวัดสุรินทร์ ที่เพียงข้ามสะพานก็เป็นเขตจังหวัดสุรินทร์แล้ว ในการจัดการแข่งขันในครั้งนี้…

Read More

ประกวด “นางฟ้าจำแลง” สวยแน่นเวที ตัดสินกันแบบข้ามคืน

มหกรรมอาหารปลอดภัย และโภชนาการเพื่อสุขภาพ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ คึกคัก เพราะมี LGBTQ สมัครเข้าร่วมประกวด “นางฟ้าจำแลง” สวยแน่นเวที ตัดสินกันแบบข้ามคืน โดยเฉพาะสวยฉลาดแบบโจ๊กเกอร์ วันที่ 14 ธันวาคม 2567 ที่ ลานกีฬาหน้าที่ว่าการอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ จากเวลาหัวค่ำของเมื่อคืนนี้ จนข้ามมาอีกวันหนึ่ง ภายในงานมหกรรมอาหารปลอดภัย อร่อยได้ ไร้แอลกอฮอล์และปลอดโฟม ของเทศบาลตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ที่มุ่งเน้นในการสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้น ต่อการบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยการจัดงานในปีนี้ นับเป็นปีที่ 20 แล้ว ด้วยความร่วมมือของ สสส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คืนนี้เป็นการแสดงการเดินแบบผ้าไหมของหัวหน้านราชการในเขตอำเภออุทุมพรพิสัย นายพศิน ทาศิริ นายอำเภออุทุมพรพิสัย, นายสมพงษ์ จิริวิภากร นายกเทศมนตรีตำบลกำแพง, นายปิติ เทพเกษตรกุล รองนายกฯ หัวหน้าส่วนราชการ ท้องถิ่นอำเภอ ผู้นำชุมชน – หมู่บ้าน…

Read More

คุณป้าลูกจ้างกวาดขยะ คว้ารางวัลที่ 1 รับ 12 ล้านบาท

คุณป้า วัย 65 ปี ลูกจ้างเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ทำหน้าที่กวาดขยะ ตั้งแต่ 05.00 แม่ค้าขายลอตเตอรี่ ยัดใส่มือให้ 2 ใบ บังเอิญตรงกับเลขธูปที่ลูกจุดเสี่ยงทาย ต้นกล้วยออกลูกกลางลำต้น พอเลขออก ตรงกับรางวัลที่ 1 ได้ 12 ล้าน ค่ำของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 ที่บ้านยังไม่มีเลขที่ เพราะสร้างใหม่พึ่งขึ้นบ้านเสร็จ ญาติพี่น้องพากันมาร่วมแสดงความยินดีกับ คุณป้า วัย 65 ปี ซึ่งเป็นลูกจ้างเทศบาลเมืองศรีสะเกษ โดยตั้งแต่ เวลา 05.00 น. จะพบคุณป้ากวาดขยะอยู่บนถนน บนฟุตบาท อยู่ที่ถนนตลาดต้นมะเกลือ เทศบาลเมืองศรีสะเกษ อำเภอเมืองศรีสะเกษ กวาดไปจนถึงเวลา 10.00 น.ทุกวัน ขณะที่กวาดเหนื่อยมานั่งพัก ได้มีแม่ค้าลอตเตอรี่มายื่นลอตเตอรี่ให้ 2 ใบ แถมพูดขู่ด้วยว่า ฉันเอาลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 มาให้ 2 ใบ และดึกออกจากแผงแล้ว…

Read More

ชาวบึงบูรพ์เปิดงานบุญกุ้มข้าวใหญ่ ผ้าไหมบึงบูรพ์

ชาวอำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ เปิดงานบุญกุ้มข้าวใหญ่ ผ้าไหมบึงบูรพ์ จัดพิธีบวงสรวงสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สู่ขวัญข้าว บูชาพระแม่โพสก พร้อมนางรำรำบายศรี รุ่งเรืองเมืองบึงบูรพ์ จำหน่ายสินค้าผ้าไหม ค่ำของวันที่ 27 มกราคม 2567 ที่ หน้าที่ว่าการอำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ นายเสกสรรค์ สุขคูณ นายอำเภอบึงบูรพ์ พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ พ่อค้า ประชาชน นายก อปท.ในพื้นที่ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอบึงบูรพ์ กำนัน -ผู้ใหญ่บ้าน สจ.ประจำอำเภอบึงบูรพ์ ได้ร่วมกันให้การต้อนรับ นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ที่เดินทางมาเปิดงาน “บุญกุ้มข้าวใหญ่ ผ้าไหมบึงบูรพ์” เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดจารีตประเพณีอันดีงามของไทบ้านอีสานแต่เก่าก่อน และเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน กลุ่มอาชีพในเขตอำเภอบึงบูรพ์ และใกล้เคียง ส่งเสริม เผยแพร่สินค้าโอทอป โดยเฉพาะผ้าไหมบึงบูรพ์ ที่เคยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดผ้าไหมของประเทศไทย พร้อมเป็นการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยว เดินทางมาเที่ยวอำเภอบึงบูรพ์ ที่นอกจากจะทอผ้าไหมได้อย่างงดงามแล้ว ในด้านการเกษตร ยังสามารถทำนาข้าวได้ปีละ 2 รอบ คือทำนาข้างนาปี และข้าวนาปรัง และที่สำคัญยังส่งเสริมให้ทำนาข้าวอินทรีย์เป็นส่วนใหญ่…

Read More

ฉลอง 100 ปี วัดนักบุญยอแซฟหนองทามน้อย

วันที่ 16 เมษายน 2567 ที่ วัดนักบุญยอแซฟหนองทามน้อย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ตลอดทั้งวันนี้ได้มีพิธีฉลองครบ 100 ปี ชาวบ้านแต่งกายสวยงาม กว่า 100 ชีวิต ได้ออกมาร่ายรำเพื่อฉลองครบ 100 ปี ที่ได้พากันมาก่อตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านหนองทามน้อยแห่งนี้ จากเดิมเมื่อปี พ.ศ.2467 ได้มีชาวบ้าน 3 ครอบครัว ได้อพยพหนีความวุ่นวาย มาจากบ้านลิ้นฟ้า – บ้านเตาเหล็ก ข้ามแม่น้ำมูลมาหาที่อยู่ที่ทำมาหากิน ทางทิศใต้ของอำเภอกันทรารมย์ เรียกว่า บ้านส้มโฮง ใกล้กับลำห้วยสะบ้า หรือลำห้วยบักบ้า ในปัจจุบันได้เรียนคำสอน รับความเชื่อในพระเจ้า ก่อนที่คุณพ่อบาทหลวงจะได้ตั้งโรงสวดขึ้นที่บ้านส้มโฮง แต่ต่อมาเกิดโรคระบาด ชาวบ้านเชื่อว่ามีผีร้าย จึงได้หารือกับบาทหลวง และพากันอพยพห่างลงมาอีก ประมาณ 2 กิโลเมตร ใกล้หนองน้ำขนาดใหญ่ เลือกเป็นทำเลที่ตั้งบ้านใหม่ เรียก บ้านหนองทามน้อย มีชาวบ้านเริ่มต้นราว 5 – 10 ครัวเรือน จนขณะนี้มี 2 หมู่บ้าน…

Read More

แห่ชม “ไอ้เป๊าะ CEO ม.6” หนังสร้างแรงบันดาลใจ

ชาวจังหวัดศรีสะเกษ ให้การตอบรับหนัง “ไอ้เป๊าะ CEO ม.6” แน่นโรงภาพยนตร์ กระแสก่อนชม กว่า 10 ปีไม่เคยเข้าโรงหนัง แต่วันนี้ขอมาชม และหลังชม ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นแรงบรรดาใจในการสู้ชีวิตได้ดีมาก วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ บริเวณหน้าโรงภาพยนตร์ MVP ในห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี่ศรีสะเกษ วันนี้คึกคักไปด้วยคอหนัง ที่มาซื้อตั๋วเพื่อเข้าชมภาพยนตร์ เรื่อง “ไอ้เป๊าะ CEO ม.6” หลายคนที่ได้รับเสื้อ ได้สวมใส่มาชมภาพยนตร์ด้วยความภาคภูมิใจ เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้ สร้างโดยคนศรีสะเกษ เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้อกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ เกี่ยวข้องกับ ความเป็นอยู่ของคนศรีสะเกษ เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ของคนศรีสะเกษ ที่ต่อสู้ ดิ้นรนในการดำเนินชีวิต แม้ว่าวันนี้จะเรียนจบได้เพียง ชั้นมัธยมปีที่6 ก็ตาม แต่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ทำให้เขาไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา มีโอกาสเขาจะคว้าเอาไว้ก่อน จนทำให้วันนี้ สามารถยืนขึ้นมาอยู่ในระดับแนวหน้า ของนักธุรกิจในเมืองไทย กับตำแหน่งผู้บริหารบริษัทยักข์ใหญ่ กลายเป็น CEO ที่เรียนจบเพียงแค่ ม.6“ไอ้เป๊าะ CEO…

Read More
error: Content is protected !!