ธกส.ศรีสะเกษ เปิดบริการสาขาใหม่ “สาขาหว้านคำ”

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส.จังหวัดศรีสะเกษ เปิดให้บริการเพิ่มอีก 1 สาขา คือ สาขาหว้านคำ แยกออกจากสาขาราษีไศล ให้บริการใกล้บ้าน ไม่พักเที่ยง ลดความเสี่ยงภัย ดูแลกว่า 2 หมื่นคน วันที่ 24 ธันวาคม 2567 ที่ อาคาร สำนักงาน สกต.ราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ถนนสายราษีไศล – ยโสธร ช่วงกิโลเมตรที่ 11 บ้านดู่ ตำบลดู่ ธนาคารเพื่อการเกษตรสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส.จังหวัดศรีสะเกษ ได้ประกาศเปิด ธกส.เพิ่มขึ้นมาอีก 1 สาขา คือ สาขาหว้านคำ เพื่อขยายการให้บริการ อำนวยความสะดวก ใกล้บ้านให้กับพี่น้องประชาชน เกษตรกร โดยเฉพาะลูกค้า ธกส.ในเขตตำบลดู่, ตำบลหว้านคำ, ตำบลจิกสังข์ทอง ตำบลหนองแค และลูกค้าในเขต อำเภอศิลาลาด อีก 4 ตำบล…

Read More

เปิดงานศรีสะเกษเทรดแฟร์ 2024 ไทย-กัมพูชา แลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้า

จังหวัดศรีสะเกษ เปิดงานเทรดแฟร์ ไทย – กัมพูชา 2024 แลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้า วัฒนธรรม เจรจาหาคู่ค้าระหว่างประเทศ พร้อมศรีสะเกษ ยังได้โชว์ทำกิมจิ แบบเดียวกับเกาหลี จากหอมแดง พืชเศรษฐกิจของจังหวัด ค่ำของวันที่ 31 มกราคม 2567 ที่ หน้าศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยรองผู้ว่าฯ ทั้ง 3 ท่าน หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย ได้ให้การต้อนรับ นางมึน เทียรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย ราชอาณาจักรกัมพูชา พร้อมคณะส่วนราชการ, นักธุรกิจ ที่เดินทางมาร่วมออกบูท เปิดร้าน โชว์ และจำหน่าย แลกเปลี่ยนสินค้า เปิดการเจรจาหาคู่ทางการค้าระหว่างประเทศไทย – กัมพูชา ในงาน “ศรีสะเกษ เทรดแฟร์ 2024” ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ไปจนถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567…

Read More

เตรียมจัดงาน “โฮมบุญ ข้าวใหม่ ปลา มัน” สืบรากวัฒนธรรมบรรพบุรุษ

ชุมชนเผ่าลาว บ้านจำปา – หัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ แถลงข่าวการจัดงาน “โฮมบุญ ข้าวใหม่ – ปลา – มัน” สืบรากวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ ในการกินข้าวใหม่ ปลา – มัน ตีกลองกิ่ง วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 ที่ วัดจำปาบ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรามรมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นตั้งอยู่ขององค์พระธาตุกตัญญู ของชนเผ่าลาว ที่มีการสืบเชื้อสายมาจากฝั่งประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นับกว่าพันปี ได้มาตั้งรกราก และได้ถือความกตัญญูเป็นที่ตั้ง กตัญญูต่อบรรพบุรุษของตนเอง และทุกปี ภายหลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ก็จะนำข้าวปลาอาหาร มาทำบุญรวมญาติ ถวายพระสงฆ์เพื่อส่งต่อไปให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว เพื่อตนเอง ครอบครัว จะได้อยู่เย็น เป็นสุข ค้าขายร่ำรวย เจริญรุ่งเรืองสืบไป โดยในปีนี้กำหนดที่จะจัดขึ้นในระหว่าง วันที่ 29 ถึง 30 พฤศจิกายน 2567…

Read More

สุดยอดนวัตกรรมแห่งเดียวในภาคอีสาน “ผ้าไหมใยกล้วย”

สุดยอดผ้าไหม ที่ทำได้จริง กับคุณภาพที่สูงสุด ดีต่อสุขภาพ ป้องกันสารยูวีที่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง เวลาสวมใส่เบาสบาย “ผ้าไหมใยกล้วย” แห่งเดียวในภาคอีสาน วันนี้สามารถเปิดหลักสูตร สอนให้ทุกคนฟรี ที่ศรีสะเกษ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 ทึ่ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ได้ทำการเปิดสอน สาธิต ในการทำสุดยอดนวัตกรรม ของการเรียนรู้ จากภูมิปัญญาคนสมัยก่อน ส่งต่อมาสู่ลูกหลาน บวกกับความรู้ในยุคปัจจุบัน กับการพัฒนา นวัตกรรมการทำผ้าไหม ที่มีคุณภาพ ดีต่อสุขภาพ นั้นก็คือ “ผ้าไหมใยกล้วย” ที่ทำการกาบต้นกล้วย มาบวกกับเส้นไหม นับตั้งแต่สมัยโบราณ ทักทอ ผลิตออกมาเป็นผ้าไหมที่เบาสบาย สวมใส่แล้วจะสามารถป้องกันสารยูวีจากแสงแดดได้เป็นอย่างดี ตัดเย็บออกมาเป็นเสื้อผ้า อาภรณ์ กระเป๋าแฟชั่นนำสมัย หมวก ตุ้มหู อื่นๆ วันนี้พร้อมแล้ว กับการเปิดสอนให้ฟรี ทุกกลุ่มอาชีพ กับทุกคน เริ่มขั้นตอนของการผลิต จากการไปตัดต้นกล้วยในสวนมา นำลำต้นกล้วย มาลอกกาบออกที่ละกาบ จากนั้นนำไปเข้าสู่เครื่องอัดรีดน้ำออกจากกาบกล้วย ก็จะได้เส้นใยกล้วย ที่เหนียว นุ่ม…

Read More

กลุ่มแม่บ้านตำบลโคกจาน รวมตัวทำพัดใบตาล จากต้นตาลดาบวิชัย

กลุ่มแม่บ้านในตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ รวมตัวกัน จ้างวิทยากรชาวบ้านเช่นกัน มาสอนทำพัดจากใบตาล โดยใบตาลจากต้นตาลที่พ่อดาบวิชัย ปลูกไว้ เมื่อ 50 ปีที่แล้ว นำมาสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ วันที่ 15 มีนาคม 2567 ที่ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เทศบาลตำบลโคกจาน ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ และกลุ่มแม่บ้านในเขตตำบลโคกจาน ได้รวมตัวเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ โดยหาอาชีพที่สนองความต้องการของตลาด ของผู้ซื้อ โดยพบว่า ขณะนี้ประเทศไทย และประเทศอื่นๆ มีอุณภูมิความร้อนพุ่งขึ้นสูง ส่วนการคลายร้อนก็สามารถทำได้หลากอย่าง และอีก 1 อย่างที่น่าจะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ นั้นก็คือ พัด ที่สามารถพกพาไปยังที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวก ขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป สามารถพับเก็บได้ ใส่กระเป๋าของคุณผู้หญิงได้ และหากทำมาจากวัสดุจากธรรมชาติ แฮนด์เมดก็ยิ่งจะเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอันมาก ซึ่งที่ถนนต้นตาลดาบวิชัย ที่พ่อดาบวิชัยปลูกเอาไว้ 2 ทางทาง ถนนสายอุทุมพรพิสัย ไปอำเภอปรางค์กู่ ได้ถูกขนานนามว่าเป็นถนนต้นตาลดาบวิชัย เพราะดาบวิชัยปลูกต้นตาลไว้ 2…

Read More

ฉลอง 100 ปี วัดนักบุญยอแซฟหนองทามน้อย

วันที่ 16 เมษายน 2567 ที่ วัดนักบุญยอแซฟหนองทามน้อย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ตลอดทั้งวันนี้ได้มีพิธีฉลองครบ 100 ปี ชาวบ้านแต่งกายสวยงาม กว่า 100 ชีวิต ได้ออกมาร่ายรำเพื่อฉลองครบ 100 ปี ที่ได้พากันมาก่อตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านหนองทามน้อยแห่งนี้ จากเดิมเมื่อปี พ.ศ.2467 ได้มีชาวบ้าน 3 ครอบครัว ได้อพยพหนีความวุ่นวาย มาจากบ้านลิ้นฟ้า – บ้านเตาเหล็ก ข้ามแม่น้ำมูลมาหาที่อยู่ที่ทำมาหากิน ทางทิศใต้ของอำเภอกันทรารมย์ เรียกว่า บ้านส้มโฮง ใกล้กับลำห้วยสะบ้า หรือลำห้วยบักบ้า ในปัจจุบันได้เรียนคำสอน รับความเชื่อในพระเจ้า ก่อนที่คุณพ่อบาทหลวงจะได้ตั้งโรงสวดขึ้นที่บ้านส้มโฮง แต่ต่อมาเกิดโรคระบาด ชาวบ้านเชื่อว่ามีผีร้าย จึงได้หารือกับบาทหลวง และพากันอพยพห่างลงมาอีก ประมาณ 2 กิโลเมตร ใกล้หนองน้ำขนาดใหญ่ เลือกเป็นทำเลที่ตั้งบ้านใหม่ เรียก บ้านหนองทามน้อย มีชาวบ้านเริ่มต้นราว 5 – 10 ครัวเรือน จนขณะนี้มี 2 หมู่บ้าน…

Read More

พิธีบวงสรวงวิหารพันล้าน หลวงพ่อทอง วัดบ้านด่าน

สาธุชนร่วมพิธีบวงสรวง วิหารหลวงพ่อทองพันล้าน ที่สร้างได้อย่างวิจิตรตระการตา ไว้เป็นอนุสรณ์สถานแห่งพระพุทธศาสนา วัดบ้านด่าน ตำบลสร้างปี่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เปิดเป็นวัดเชิงส่งเสริมการท่องเที่ยว   เช้าของวันที่ 2 มีนาคม 2567 ที่ วัดบ้านด่าน ตำบลสร้างปี่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ได้ญาติโยมที่นุ่งห่มขาว ได้เดินทางมาร่วมประกอบพิธี บวงสรวงวิหารหลวงพ่อทอง พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร หรือปางห้ามญาติ ซึ่งเชื่อว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ตอนปลาย และต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา คาดว่าอายุราว กว่า 700 ปีผ่านมา วันนี้ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านด่าน กว่า 72 ปีแล้ว จากการที่กลัวว่าจะมีผู้มาขโมยไป เพราะก่อนหน้านี้เคยมีหัวขโมยมาขโมยเอาไป 2 ครั้ง แต่ก็ไม่สามารถเอาไปพ้นเขตวัดได้ จึงเชื่อว่าเกิดจากการความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อทอง จากนั้น นายขจรศักดิ์ ศรีบุญเรือง หรือ ฉายา ไอ้เป๊าะ CEO ม.6 ประธานกรรมการ บริษัท ยูเวิร์ค 999 จำกัด ซึ่งเป็นคนบ้านด่าน สร้างปี่แห่งนี้ ได้มาขอพรจากองค์หลวงพ่อทอง…

Read More

สืบสานตำนานพันปี ประเพณีไหว้ปราสาทบ้านปราสาท

ชนเผ่าลาว และเผ่ากูย จากอำเภอห้วยทับทัน และอำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ เดินทางมาร่วม “สืบสานตำนานพันปี ประเพณีไหว้ปราสาทบ้านปราสาท” ด้วยการหาบข้าวจี่ เครื่องเซ่นไหว้ ที่ปราศจากเนื้อสัตว์มาไหว้ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ ปราสาทวัดบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ลูกหลานชนเผ่าลาว และเผ่ากูย จากอำเภอห้วยทับทัน และอำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกันแต่งกายด้วยชุดชนเผ่ากูย มาร่วมสืบสานวัฒนธรรมอันดี ในการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ด้วยยกพานบายศรีใบตอง ด้วยการหาบข้าวจี่ มาร่วม “สืบสานตำนานพันปี ประเพณีไหว้ปราสาทบ้านปราสาท” ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท นำโดย นายชยามร บุญเต็ม นายก อบต.ปราสาท พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ผู้นำหมู่บ้านชุมชน กำนัน – ผู้ใหญ่บ้าน พี่น้องประชาชนกว่า 500 คน ได้จัดเตรียมข้าวจี่จากทุกครอบครัว ข้าวต้มผลไม้ โดยปราศจากเนื้อสัตว์ทุกชนิด ดอกไม้ ธูปเทียน นำมาใส่ลงในไปในตะกร้า ก่อนหาบมาเดิน ฟ้อนรำ รอบองค์ปราสาทบ้านปราสาท…

Read More

“อีเซรัน ครั้งที่ 1“ วัฒนธรรมแห่งสายน้ำ สานสัมพันธ์ศรีสะเกษ – สุรินทร์

นักวิ่งจากทั่วสารทิศ แห่มาร่วมวิ่ง “อีเซรัน ครั้งที่ 1 “ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลอีเซ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ ที่ร่วมสืบวัฒนธรรมสายน้ำ ลุ่มน้ำลำห้วยทับทัน สานสัมพันธ์ศรีสะเกษ – สุรินทร์ ครั้งที่ 8 เช้ามืดของวันที่ 9 ธันวาคม 2565 ที่ ลานพระใหญ่ บ้านหนองฮู ตำบลอีเซ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังศรีสะเกษ นางนุชนาถ จารุวงษ์เสถียร ผู้แทนราษฎร เขต 9 จังหวัดศรีสะเกษ พรรคเพื่อไทย เดินทางมาเป็นประธานในการเปิดการแข่งขัน “อีเซรัน2023 ครั้งที่1” จัดโดย นายสุวรรณ โสดา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอีเซ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน กำนัน – ผู้ใหญ่บ้าน ทั้งในตำบลอีเซ อำเภอโพธิ์ศรีรสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ และชาวตำบลยางสว่าง อำเภอรัตนบุรี เพื่อเชื่อมโยงระหว่างชาวศรีสะเกษ กับ ชาวจังหวัดสุรินทร์ ที่เพียงข้ามสะพานก็เป็นเขตจังหวัดสุรินทร์แล้ว ในการจัดการแข่งขันในครั้งนี้…

Read More

ประกวดธิดาข้าวจี่ งานประเพณีบุญข้าวจี่ อัศจรรย์ของดีโพธิ์ศรีสุวรรณ

ประเพณีบุญข้าวจี่ อัศจรรย์ของดีโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดการประกวดธิดาข้าวจี่ โดยมีสาวงาม ตัวแทนหมู่บ้าน – ชุมชน เข้าประกวด 13 คน งานนี้เล่นเอาดอกไม้หมดตลาด จนคณะกรรมการต้องเวียนดอกไม้ วันที่ 2 มีนาคม 2567 ที่ หน้าที่ว่าการอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ ที่ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับชาวบ้าน ทั้ง 5 ตำบล ได้ร่วมกันจัดทำข้าวจี่ เพื่อมาร่วมงาน “ประเพณีบุญข้าวจี่ อัศจรรย์ของดีโพธิ์ศรีสุวรรณ” ซึ่งในค่ำของวันนี้ได้จัดกิจกรรมประกวดธิดาข้าวจี่ เพื่อที่จะได้คัดเลือกสาวงามในเขตอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จาก 5 ตำบล ไปเป็นตัวแทนเพื่อส่งเข้าประกวดธิดาสี่เผ่าไทยศรีสะเกษ ในงานปีใหม่จังหวัดศรีสะเกษ เป็นตัวแทนของอำเภอ จึงทำให้ผู้นำชุมชน ผู้นำหมู่บ้าน ได้นำลูกหลานของตนเอง ไม่ว่าจะไปทำงานอยู่ที่ไหน หากสวยจริง เรียกกลับมาบ้าน มาเข้าประกวด เพราะถือว่าเป็นหน้าเป็นตาของหมู่บ้าน เพราะจะได้เป็นตัวแทนอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ โดยสรุปวันนี้มีสาวงามมาเข้าประกวด 13 สาวงาม แม้จะมี 5 ตำบล แต่มีบางตำบลที่ขอส่งลูกหลานเข้าประกวดมากกว่า 1…

Read More
error: Content is protected !!