วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ และสภาวัฒนธรรมจังหวัด ร่วมสืบสานงานด้านวัฒนธรรม “ของดีบ้านฉัน” นำศิลปะ – วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต อาหารพื้นบ้านมาแสดง จำหน่าย ภายในงานเทศกาลดอกลำดวนบาน
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26099749_0.jpg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26099747_0.jpg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26099740_0.jpg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26099746_0.jpg)
วันที่ 6 มีนาคม 2567 ที่ ลานลงข่วง ภายในสวมสมเด็จพระศรีนครินทร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีการจัดงาน เทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 6 – 10 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นงานประจำปีของจังหวัด เพราะดอกลำดวน ถือเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ และในสวมสมเด็จฯ แห่งนี้ เป็นสวนสมเด็จแห่งแรกของไทย มีต้นดอกลำดวนที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ นับตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจในอดีตกาลพันกว่าปีมาแล้ว ต้นดอกลำดวนมีมากกว่า 5 หมื่นต้น ในช่วงเดือนมีนาคม ของทุกปี ต้นลำดวนจะออกดอกบานสะพรั่ง ส่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่วทั้งจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับ สภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดกิจกรรมรากวัฒนธรรม ณ ลานลงข่วง “ของดีบ้านฉัน” เป็นการนำเอาการแสดงศิลปะ วัฒนธรรม ของ 4 ชนผ่า อันได้แก่ เผ่าส่วย, เขมร, ลาว และเผ่าเยอ มานำเสนอการแสดง มานำเสนออาหาร มานำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งวันนี้เป็นการเปิดลานลงข่วงวันแรก โดย นายวิทยา วิรารัตน์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ, นายประหยัด ถิลา วัฒนธรรม จังหวัดศรีสะเกษ ได้เชิญ นางสาว ชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ มาร่วมเป็นประธานเปิดลานลงข่วง
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26099753_0.jpg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26099760_0.jpg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26099762.jpg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26099755_0.jpg)
ในลานลงข่วงของสภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่เช้าของวันนี้ ได้มี การแข่งขันแส่วผ้าไหม ผ้าฝ้าย เพื่อค้นหาลาย ค้นหาเอกลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ ในด้านการแส่วเสื้อผ้า สืบเนื่องจากการแส่วผ้า ถือเป็นอาชีพของกลุ่มชน ตามเผ่าต่างๆ ก็มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป และการแส่วผ้า นับเป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มอาชีพเป็นอันมาก จากการใช้ฝีมือรับจ้างแส่วผ้า ส่งเสริมอาชีพการทอผ้าเบ็ญจศรี ธานีศรีแส่วศรีสะเกษ ที่ได้รับความนิยมสวมใส่เสื้อผ้าไหมที่ผ่านการแส่ว นับเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีผ้าหลากสี จากการย้อมสีจากธรรมชาติ ทั้งสีไม้มะดัน, สีมะเกลือ, สีทุเรียนภูเขาไฟ หรือสีลาวา, สีกุลา จากทุ่งกุลาร้องไห้, สีดอกลำดวน หรือจะเป็นสีดินภูเขาไฟ เป็นต้น นอกจากนั้นก็จะเป็นการประกอบอาหารโชว์ แสดงและจำหน่าย ซึ่งเป็นอาหารพื้นถิ่น ทั้งแกงอ่อมปูนา, เขียดทอดแดดเดียว, แกงขี้เหล็กใส่ไข่มดแดง, แกงหยวกกล้วยใส่ไก่ และเสื้อย้อมสีเปลือกต้นตาล – หรือจะเป็นผลิตภัณฑ์จากต้นตาล พ่อดาบวิชัย คนบ้านปลูกต้นตาล อาหารต่างๆ หาทานยาก จะมีเฉพาะภายในงานรากวัฒนธรรมนี้เท่านั้น ซึ่งเป็นของดีบ้านฉันศรีสะเกษ จำหน่ายกันไม่แพง พร้อมมีที่นั่งให้ทานอาหาร ชมการแสดงศิลปะ – วัฒนธรรม ได้ตลอดทั้งวันไปจนถึงวันที่ 10 มีนาคม 2567
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26099745_0.jpg)
![](https://www.timenewsth.net/wp-content/uploads/2024/03/S__26099744_0.jpg)
/////////////////////////
ภาพ/ข่าว นายพงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์ / ศรีสะเกษ