จังหวัดศรีสะเกษ จัดกิจกรรม “วันรักต้นไม้” ข้างถนนต้นตาลดาบวิชัย หรือ ร้อยตำรวจตรี วิชัย สุริยุทธ ผู้ที่ได้ถูกขนานนามว่า คนบ้าปลูกต้นไม้ 3 ล้านต้น 1 ในนั้นก็คือ ต้นตาล ซึ่งวันนี้ได้ให้คุณค่า ทั้งขนม อาหาร เฟอร์นิเจอร์
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ที่ ถนนสาย อุทุมพรพพิสัย – ปรางค์กู่ ที่เป็นถนนสายประวัติศาสตร์ ของพ่อดาบวิชัย คนบ้าปลูกต้นไม้ หรือ ร้อยตำรวจตรี วิชัย สุริยุทธ เมื่อครั้งที่มาทำงานเป็นตำรวจ ที่ สภ.อุทุมพรพิสัย ซึ่งจะต้องเดินทางจากบ้านที่อำเภอปรางค์กู่ ทุกเช้า พ่อดาบ จะต้องพกเมล็ดพันธ์ต้นตาล ที่ตนเองทำการเพาะเอง ติดท้ายรถจักรยาน ปั่นมาตามเส้นทางถนนดิน ระยะทางกว่า 36 กิโลเมตร และใช้เสียมที่ติดมาด้วย ทำการขุดหลุมปลูกต้นตาลมาเรื่อยๆ 2 ข้างทาง ปลูกทุกวัน ตามระยะทางอย่างต่อเนื่อง และวันนี้ต้นตาลของพ่อดาบวิชัย เติบใหญ่ ให้ผลผลิต ลูกหลานได้ใช้ ได้ทาน แม้พ่อดาบจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่ต้นตาลยังคงอยู่ นายนิรุตย์ เกษกุล นายกเทศมนตรีตำบลโคกจาน ได้เล่าถึงตำนานพ่อดาบวิชัย ให้ทุกคนทีมมาร่วมงานได้รับทราบ ก่อนเริ่มกิจกรรม “วันรักต้นไม้” ข้างถนนต้นตาลดาบวิชัย โดยมี นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เดินทางมาเป็นประธาน ร่วมกับ นายพศิน ทาศิริ นายอำเภออุทุมพรพิสัย, หัวหน้าส่วนราชการใสนจังหวัด – อำเภอ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติจังหวัดศรีสะเกษ พ่อน้องประชาชน โดยเฉพาะลูกของพ่อดาบวิชัย ที่ได้มาร่วมวางพวงมาลัย ร่วมไว้อาลัยแด่พ่อดาบวิชัย เนื่องในวันครบรอบวันเสียชีวิตของพ่อดาบวิชัย 25 พฤศจิกายน 2566 ในวัย 77 ปี
นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้ร่วมชมผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากต้นตาล โดยประโยชน์ของต้นตาลนั้น นับได้ว่าสามารถนำไปใช้ได้ทั้งต้น ราก ใบ ใบสามารถนำไปทักทอทำเป็นพาชนะ ทำเป็นหลังคาบ้าน กาบนำไปต้มนำมาย้อมผ้า เรียกผ้าย้อมสีกาบตาล เนื้องผ้าจะนุ่ม สวมใส่สบาย ย้อมผ้าสไบ ย้อมเสื้อ ย้อมผ้าก่อนนำมาตัดเย็บเป็นกระเป๋า ส่วนต้นตาล ก็สามารถนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ได้ ทั้งชาม ถ้วย แก้ว ลูกตาลสุก นำมาทำขนมตาล เสริมพร้อมน้ำดื่ม กาแฟ ทำเป็นเบรก อาหารว่างได้ อร่อยด้วย ส่วนรากก็เป็นยาสมุนไพรไทย ใช้รักษาโรคได้หลากหลายชนิด เรียกได้ว่า ต้นตาล ที่พ่อดาบวิชัย ได้ทำการปลูกเอาไว้ เมื่อ 50 ปีก่อน วันนี้ลูกหลานทุกคนได้เห็นคุณค่าอย่างมากแล้ว วันนี้จึงได้มาทำกิจกรรม วันรักต้นไม้ อธิ การบวชต้นตาล รักษาไว้ให้คงอยู่ ป้องกันคนมาต้นต้นตาลทิ้ง, การปล่อยแตนเบียน ที่จะไปกินตัวอ่อนของด้วง ที่จะมากัดทำหลายยอดต้นตาล เป็นวิธีการตามธรรมชาติ ในการกำจัดศัตรูต้นตาล
และกิจกรรมทำความสะอาด กำจัดวัชพืชรอบๆ โคนต้นตาล ก่อนดึงใบตาลที่แห้งตายแล้วลงมา เพราะหากปล่อยไว้ ก็จะเป็นที่สะสมโรค แมลงต่างๆ โดยผู้ว่าฯ ได้ช่วยงาน ดึงกิ่งกาบใบตาลที่แห้งจะให้ลงมา โดยปลายไม้ที่ดึง จะมีเลื่อยใหม่ติดตั้งเอาไว้ แต่เลื่อยที่ใช้ต่อกับไม้ไผ่ยาว กลับไม่เป็นใจ ดึงกิ่งกาบตาลลงมาได้เพียงอันเดียว อันแรก กิ่งกาบใบตาลอันที่ 2 กำลังดึง ด้วยแรงของผู้ว่าฯ เลื่อยที่ติดอยู่กับไม้ไผ่ยาวที่ใช้ดึง หลุด หลุดออกจากไม้ไผ่ ผู้ว่าฯ ตกใจเล็กน้อย แต่ก็ได้พยายามที่จะสอดใส่ไม้ไผ่ให้กลับเข้าไปดั่งเดิมอยู่นาน จนเจ้าหน้าที่ได้มากระซิบบอกว่า สอดไม่ได้ครับ ผู้ว่าฯ จึงยกไม้ที่เลื่อยหลุดให้เจ้าหน้าที่ ได้นำไปตีๆๆ เลื่อยที่ติดกิ่งกาบตาล เพื่อให้เลื่อยได้หล่นลงมา ก่อนที่จะนำไปตอกตาปูใหม่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงบานต่อไปตามโครงการ – กิจกรรม
////////////////////////
ภาพ/ข่าว ทีมข่าว Timenews / ศรีสะเกษ